Meeting room for new normal ห้องประชุมเก็บเสียงในยุคนิวนอร์มอล

โรคโควิด-19  New Normal เรื่องสุขอนามัยสำคัญมากยิ่งขึ้น ทำให้หลายองค์กรปรับสำนักทำงานให้สอดคล้องกับ New Normal มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่อย่างห้องประชุม New Normal ส่งผลต่อวิถีชีวิตของผู้คนและการทำงาน การเว้นระยะห่างและการวางระบบความปลอดภัย ถือเป็นมาตรฐานใหม่ที่ทุกองค์กรเริ่มปรับเปลี่ยน  รวมถึงการปรับรูปแบบการทำงาน ทั้งสลับวันเข้าสำนักงานหรือการนำแนวคิด Remote Working มาปรับใช้ พื้นที่ห้องประชุม เป็นส่วนสำคัญในการทำงาน จะประชุมอย่างไรในยุคโควิด-19 การปรับเปลี่ยนห้องประชุมให้เหมาะสม สะอาด เว้นระยะห่าง ปลอดภัย และไร้เสียงรบกวน ห้องประชุมยุคใหม่มีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา มีปัจจัยไหนบ้างมาติดตามกัน Meeting room for new normal ห้องประชุมเก็บเสียงในยุคนิวนอร์มอล

ห้องประชุมในยุค New Normal

ห้องประชุมในยุค New Normal เป็นห้องประชุมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพราะนอกจากการให้ความสำคัญในเรื่องการทำงานของเทคโนโลยีในการประชุมแล้ว สิ่งที่เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นคือ ความปลอดภัย ห่างไกลจากเชื้อโรค ลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาด ผ่านการปรับเปลี่ยนห้องประชุม  ทั้งการเว้นระยะห่างระหว่างที่นั่ง เพิ่มระบบไหลเวียนอากาศ รวมถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้เพื่อลดการสัมผัส และที่สำคัญคือห้องประชุมที่ไร้เสียงรบกวน ไม่มีเสียงก้องขณะประชุม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน ได้รับข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วน และไม่มีเสียงดังรบกวน

Photo :  http s://avl.co.th/blogs

เทคโนโลยีมาเสริมความปลอดภัยใช้ภายในห้องประชุมแบบ New Normal

  • Smart Building Sensor เทคโนโลยีในการตรวจวัดความเปลี่ยนแปลงโดยรอบ เช่น ตรวจจับอุณหภูมิ, ค่าความชื้นภายในห้อง, ระบบจดจำใบหน้าและการตรวจจับความเคลื่อนไหว ซึ่งในส่วนนี้ช่วยเพิ่มความปลอดภัย ลดการสัมผัสและเพิ่มความแม่นยำในการคัดกรองผู้เข้าประชุม
  • Mobile Room Control เทคโนโลยีควบคุมและสั่งการด้วยโทรศัพท์ ทั้งการควบคุมระบบแสงหรือการเปิดไฟล์การประชุม ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะช่วยลดการสัมผัส และอำนวยความสะดวกให้การทำงานง่ายมากยิ่งขึ้น ทั้งในการจัดการห้องและการเชื่อมต่อข้อมูล
  • Wireless Presentation ระบบการนำเสนอข้อมูลแบบไร้สาย ผ่านแอปพลิเคชันหรือโปรแกรมที่เชื่อมข้อมูลผ่านระบบ Cloud ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่กำลังเสนอได้พร้อมกัน ทำให้การทำงานสะดวก เข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
  • Video Conference การติดตั้งเทคโนโลยีที่รองรับการประชุมทางไกลอย่าง กล้องเซนเซอร์ติดตามผู้พูด (Tracking Camera) และไมโครโฟนสำหรับประชุมทางไกล (Web Conference Mic) จะช่วยให้การประชุมทางไกลสะดวกมากยิ่งขึ้น
  • BOYD (Bring Your Own Devices) คือ การนำอุปกรณ์ของตัวเองมาใช้ในการทำงานเช่น Notebook Computer, Mobile Phone และ Tablet เป็นต้น โดยสามารถเชื่อมต่อระบบและข้อมูลเข้ากับซอฟต์แวร์ของที่ทำงาน ทำให้ลดการใช้อุปกรณ์ส่วนกลาง ลดการสัมผัส เพิ่มความปลอดภัยให้กับสำนักงาน

แนวโน้มรูปแบบของการประชุมจะเปลี่ยนไปสู่การประชุมแบบทางไกลมากยิ่งขึ้น (Conference Meeting) ดังนั้นความทันสมัยของเทคโนโลยีจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับรูปแบบของห้องประชุม ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการประชุมเป็นหลัก โดยเฉพาะการประชุมทางไกล เริ่มต้นตั้งแต่การปรับระบบและเทคโนโลยีให้มีความทันสมัยพร้อมใช้งาน ทั้งระบบภาพ เสียง การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์กับอินเทอร์เน็ตและอื่น ๆ อีกมากมาย

  • ระบบภาพสำหรับระบบภาพในการประชุมทางไกลนั้นถือว่าเป็นหัวใจหลักของการประชุม คุณภาพของภาพที่ได้จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของกล้อง (Camera) ที่ใช้ในการประชุม โดยส่วนใหญ่แล้วหากเป็นห้องประชุมขนาดเล็ก จะนิยมใช้กล้องภายในตัวคอมพิวเตอร์ แต่ทั้งนี้กล้องดังกล่าวจะมีคุณภาพที่ต่ำ ดังนั้นจึงควรใช้กล้องที่ออกแบบเพื่อประชุมทางไกลโดยเฉพาะ นอกจากคุณภาพที่คมชัดแล้ว บางรุ่นยังมีฟังก์ชันติดตามผู้พูดหรือมีลำโพงภายในตัวอีกด้วย
  • ระบบเสียงสำหรับการประชุมทางไกล มักมีปัญหาเรื่องเสียงรบกวน ทั้งสัญญาณเสียงที่ขาดหาย และเสียงก้องสะท้อน ทั้งนี้ในชุดประชุมทางไกลบางยี่ห้อ จะมีระบบ Noise Cancellation เพื่อป้องกันเสียงก้องสะท้อนจากไมโครโฟน แต่อย่างไรก็ตามปัญหาเสียงรบกวน ควรแก้ตั้งแต่ต้นเหตุ เช่น การออกแบบห้องไม่ให้เกิดเสียงก้องสะท้อน และเป็นห้องเก็บเสียง กันเสียงรบกวนจากภายนอก การจะแก้ปัญหาเสียงก้อง เสียงสะท้อนได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยวัสดุอะคูสติกที่มีคุณสมบัติในการดูดซับเสียงสูง ในการเลือกวัสดุซับเสียงสามารถเลือกจากค่า Sound Absorption Coefficient (SAC) ซึ่งเป็นค่าสัดส่วนของพลังงานเสียงที่ถูกซับไป ยกตัวอย่างเช่น วัสดุ A มีค่า SAC ที่ 80 หมายความว่า 80% ของเสียงจะถูกซับไว้ในวัสดุ ส่วนอีก 20% คือเสียงที่สะท้อนออกไป ทั้งนี้ค่า SAC ที่ได้จะแปรผันต่อค่าความถี่เสียงที่เดินทางไปตกกระทบในแต่ละวัสดุ
    • วิธีแก้ไขห้องประชุมเสียงก้อง เพิ่มเฟอร์นิเจอร์ที่มีคุณสมบัติในการช่วยดูดซับเสียง อาทิ เลือกใช้ของตกแต่งที่บุโฟม ติดผ้าม่าน การปูพื้นด้วยพรม ก็สามารถช่วยดูดซับเสียงได้ ทำให้ห้องประชุมเกิดเสียงสะท้อนน้อยลง และไม่ก้องเหมือนเดิม ปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสียงโดยตรง ตรวจสอบและออกแบบค่าความก้องที่เหมาะสมกับห้อง เพื่อกำหนดพื้นที่และตำแหน่งในการติดตั้งวัสดุซับเสียง เลือกใช้วัสดุซับเสียงที่เหมาะสมติดตั้งตามแบบที่วางเอาไว้ โดยอาจเลือกใช้เป็นแผ่นซับเสียงติดผนังหรือฝ้า เพราะมีคุณสมบัติในการช่วยลดเสียงสะท้อน และมีความสวยงาม ให้เลือกได้หลากหลายพื้นผิว ควบคู่ไปกับการดีไซน์ที่ทันสมัย เมื่อทำการติดตั้งวัสดุซับเสียงตามที่ออกแบบไว้แล้ว จึงทำการวัดเสียงภายในห้องประชุมอีกครั้ง เพื่อสรุปผลและตรวจสอบว่า ลดเสียงก้องเสียงสะท้อนได้ตามที่ออกแบบไว้ สามารถควบคุมเสียงให้ได้มาตรฐานตามที่ต้องการหรือไม่
  • การออกแบบระบบแสงควรออกแบบให้มีค่าความสว่างของแสงที่เพียงพอและคำนึงถึงค่าอุณภูมิสีของแสง (Color Temperature) ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับอุปกรณ์กล้องที่ใช้ รวมถึงทิศทางของแสงที่มีความสำคัญในการส่องสว่างที่ใบหน้าของผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อให้ผู้เข้าประชุมอีกฝ่ายเห็นหน้าอย่างชัดเจน
  • การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์กับอินเทอร์เน็ตในส่วนนี้ควรตรวจสอบอุปกรณ์ที่มีภายในห้องว่ารองรับการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต หรือใช้รุ่นที่รองรับฟังก์ชันใหม่ๆได้หรือไม่ เพราะโปรแกรมในการประชุมมักจะมีการอัปเดตอยู่เสมอ ดังนั้นจึงควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่พร้อมในการใช้งานระยะยาวด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :
ปัญหา “ห้องประชุม” เสียงก้อง เสียงสะท้อน แก้ไขยังไงให้ตรงจุด

เทคนิคแก้ปัญหาเสียงก้องในห้องอัดให้ได้เสียงคุณภาพ

Working room ห้องทำงานดีไซน์ที่ใช่ ไร้เสียงรบกวน

เลือกใช้กระจกกันเสียง ได้ทั้งงานดีไซน์และฟังก์ชั่น

 

Meeting room for new normal ห้องประชุมเก็บเสียงในยุคนิวนอร์มอล  ห้องประชุมในยุค New Normal ต้องตอบโจทย์ในด้านความปลอดภัย ผ่านนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ เพื่อให้พนักงานในองค์กรสามารถทำงานร่วมกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและห่างไกลจากโควิด-19 ก่อนทำการปรับปรุงห้องประชุม ควรทำความเข้าใจถึงลักษณะการใช้งานของห้องประชุม ซึ่งห้องประชุมแต่ละประเภทมีจุดประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยจุดประสงค์จะสะท้อนผ่านรูปแบบของการตกแต่งภายในและเทคโนโลยีที่ใช้ในห้องประชุม ที่ต่างกันตามลักษณะการใช้งานพื้นที่ ควรปรึกษาผู้ออกแบบตกแต่งภายในและ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสียงโดยตรง ตรวจสอบและออกแบบค่าความก้องที่เหมาะสมกับห้อง เพื่อกำหนดพื้นที่และตำแหน่งในการติดตั้งวัสดุซับเสียง การแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ไม่ต้องกลับมาปวดหัว ยังมีเสียงก้องเสียงรบกวน ทำให้ลดประสิทธิภาพในการประชุม ยิ่งหากประชุมกับลูกค้าแล้ว แทนที่จะได้คะแนนแต้มต่อ อาจเสียความน่าเชื่อถือไปส่วนนึงได้เช่นกัน

Source :  http s://avl.co.th/ , https://www.nextplus.co.th/soundproof/the-problem-of-meeting-room-resonance-how-to-fix-the-point-next-plus-engineering , www.scgbuildingmaterials.com