Noisy Neighbor มาฝังกลบปัญหาเพื่อนบ้านเสียงดัง
ต้องห้ามพลาดในชาตินี้

ที่สุดของเรื่องน่ารำคาญ ปัญหาที่ทำให้เราสติแตกได้ง่ายๆ ในช่วงนี้นอกจาก โควิด-19 และอากาศก็ร้อนสุดๆ ในช่วงเวลาที่ต้องการสมาธิกับการทำงานที่บ้าน การเรียน หรือช่วงเวลาของการพักผ่อนในยามวิกาลคุณเคยเจอไหม เคยสติแตก เพราะเพื่อนบ้านสร้างเสียงดังรบกวน หรือกำลังเจอปัญหานี้อยู่ จะแก้ไขอย่างไรดี ช่วงนี้ที่ทุกคนต้องใช้เวลาอยู่ที่บ้านเพิ่มมากขึ้น ปัญหาสุดทน กับเพื่อนบ้านเสียงดัง ตกเป็นข่าวเป็นคดีความฟ้องร้องกันมากมาย ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดัง สังสรรค์บ่อย ทำให้เราเกิดความรำคาญ หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เจรจาก็แล้ว ขอร้องก็แล้ว แจ้งนิติก็แล้ว หลายท่านสุดทนจนต้องแจ้งความ ไม่ว่าจะเป็นคอนโด ทาวน์เฮ้าส์ บ้านเดี่ยว ซื้อมาในราคาหลายล้าน จะมาย้ายหนีเพื่อนบ้านมหาภัยก็ใช่เรื่อง มาดูกันว่าจะจบปัญหานี้ได้อย่างไร

เสียงรบกวนจากเพื่อนบ้านมาจากอะไรบ้าง ?

พูดคุยกันเสียงดัง เปิดทีวีหรือเพลงเสียงดัง ปาร์ตี้สังสรรค์ ก่อสร้างหรือซ่อมบ้าน เคยเจรจาไกล่เกลี่ยกันหรือยัง ให้ลองขอความร่วมมือจากเพื่อนบ้านก่อน เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด โดยการเจรจากันถึงปัญหาที่ได้รับผลกระทบและหาวิธีแก้ปัญหาร่วมกันเป็นทางออกที่ดี และเป็นการสร้างสัมพันธ์ไมตรีกับเพื่อนบ้านได้ หากยังไม่ได้ผลควรร้องเรียนฝ่ายนิติบุคคล ถ้าหากการเจรจาไม่เป็นผลหรือไม่สะดวกคุย การร้องเรียนกับฝ่ายนิติบุคคลที่มีหน้าที่คอยดูแลปัญหาภายในคอนโด หรือหมู่บ้านจัดสรร นิติบุคคลจะทำการแจ้งเตือนให้และเข้าไปคุยกับเพื่อนบ้าน เพื่อให้ลดปัญหาเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นได้ ถ้าเจรจาขอความร่วมมือก็แล้ว ร้องเรียนกับนิติบุคคลแล้ว แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องเสียงรบกวนได้ ลองจัดการกับเพื่อนบ้านเสียงดังด้วยกฎหมายไหม ซึ่งในกรณีการใช้กฏหมายนั้นอาจจะทำให้มองหน้ากันไม่ติด ไปตลอดซึ่งทางเรายังไม่แนะนำหากว่ายังสามารถพูดคุยกันได้ไม่ถึงขั้นทะเลาะมีปากเสียงกันชะก่อน

ไม่อยากสติแตก ไม่อยากทะเลาะ ไม่อยากย้ายบ้าน แก้ไขยังไงดี

ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าเสียงสามารถเข้ามาในตัวบ้านเรา หรือห้องของเราโดยทะลุผนัง กระจก ประตู เข้ามาได้ตรงๆ ถึงแม้ว่าห้องเราจะทึบก็ตามหรือ เสียงรบกวนจะเล็ดลอดเข้ามาตามรอยรั่วต่างๆ บริเวณโดยรอบบ้าน  และสุดท้ายอาจจะเกิดจาก แรงสั่นสะเทือนไหลตามโครงสร้าง เช่น เสียงจากการกระแทกพื้นต่างๆ เป็นต้น เบื้องต้นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันเสียงเข้ามาในบ้านได้ไม่ว่าจะเป็น เฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน เช่น ตู้เสื้อผ้า ตู้เก็บของ ปิดรอยต่อรอบบ้าน เช่น ยางรองประตู-หน้าต่าง ลองปลูกต้นไม้รอบบ้าน เช่น ต้นไม้ยืนต้น ไม้กระถาง ไม้ประดับ การเลือกใช้วัสดุที่ดูดซับเสียง เช่น แผ่นดูดซับเสียง และสร้างห้องเก็บเสียงปัจจุบันมีวัสดุหลากหลายอย่าง ราคาไม่แพง นอกจากที่เราจะป้องกันปัญหาเรื่องเสียงสามารถให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงออกแบบการติดตั้งแผ่นดูดซับเสียงเพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุดที่สุดและเป็นการปรับปรุงบ้านให้ออกมาสวยงามตรงใจเจ้าของบ้านอีกด้วย วิธีนี้ทำไมถึงได้ผล เพราะการให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาแก้ไขปัญหานี้ จะมีการวัดค่าเสียงในแต่ละช่วงเวลา และเลือกวัสดุพร้อมติดตั้งว่าลดปัญหาเสียงที่เกิดขึ้นได้เท่าไหร่ เพราะวัสดุแต่ละชนิดมีค่ากันเสียงที่ต่างกัน หากมีเสียงดังมากก็ต้องมีการหาสาเหตุรอยรั่วต่างๆ ที่เสียงลอดเข้ามาทั้งหมดด้วย

กฏหมายคุมครองไหม?

ติดต่อเจ้าหน้าที่ทางกฎหมายหากวิธีอื่นไม่ได้ผล. กรณีที่เพื่อนบ้านเปิดเพลง หรือมีการเล่นดนตรี และสังสรรค์เสียงดังเป็นที่รบกวนนั้น ถือว่าเป็นการส่งเสียง ทำให้เกิดเสียง หรือกระทำการอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันควร มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 370 มีโทษปรับ 1,000 บาท กรณีที่เสียงดังเกิน 70 เดซิเบล คุณสามารถไปร้องเรียนกับกรมควบคุมมลพิษทางเสียงที่สำนักงานเขตหรืออำเภอ จากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาจัดการแก้ไขปัญหา ซึ่งหากเพื่อนบ้านไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ ก็จะถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย นอกจากนี้คุณยังสามารถติดต่อศูนย์รับแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร (เบอร์ 1555) ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ กรมควบคุมมลพิษ (เบอร์ 1650) และศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียน ยานพาหนะเสียงดัง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (เบอร์ 1197) ถ้าคุณไม่อยากบอกชื่อเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองถูกหาเรื่อง แจ้งเจ้าหน้าที่ที่รับสายว่า คุณไม่อยากให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ามาติดต่อคุณ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะติดต่อเพื่อนบ้านตามที่คุณร้องเรียน แต่จะไม่ดึงคุณเข้ามาด้วยและไม่เปิดเผยตัวตนของคุณ

เสียงระดับใดจึงจะถือว่าเป็นเสียงรบกวน หรือมลพิษทางเสียง?

ภาวะมลพิษทางเสียง (Noise Pollution ) หมายถึง สภาวะเสียงที่ดังเกินไปจนก่อให้เกิดความรำคาญ หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบการได้ยินของมนุษย์และสัตว์ เช่น เสียงวิทยุ โทรทัศน์ เสียงเครื่องบิน หรือ เสียงการก่อสร้าง เป็นต้น

ระดับความดังของเสียง

180 dB เสียงเครื่องยนต์จรวจที่ระยะ 30 เมตร หรือ เสียงช้างที่ระยะ 1 เมตร

140 – 150 dB เสียงเครื่องบินเทอร์โบเจต เป็นอันตรายต่อหู อาจสูญเสียการได้ยิน

130 dB สว่านไฟฟ้า ที่เจาะถนนคอนกรีต ควรสวมเครื่องป้องกันหู เพราะเสียงดังเกินขนาดเป็นอันตราย

110 – 120 dB เสียงทรัมเป็ต แซกโซโฟน ที่ระยะ 1 เมตร *ควรได้รับเสียงไม่เกิน 1 ชั่วโมง

100 – 110 dB เสียงในโรงงาน เฟอร์นิเจอร์ไม้ *ควรได้รับเสียงไม่เกิน 2 ชั่วโมง

90 dB เสียงดังจากท้องถนนขณะนั้งอยู่ในรถ *ควรได้รับเสียงไม่เกิน  8ชั่วโมง

80 dB  เสียงดังจากท้องถนน ระยะห่าง 15 เมตร

60 – 70 dB  เสียงสนทนาภายในสำนักงาน ระยะห่าง 1 เมตร

10 dB เสียงหายใจของคน ที่ระยะห่าง 3 เมตร

*เสียงดังระดับ 85 dB ขึ้นไป ไม่ควรฟังต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจสูญเสียการได้ยิน

มี “เพื่อนบ้าน” ดี นั้นมีชัยไปกว่าครึ่ง แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเลือกเพื่อนบ้านให้เป็นอย่างใจได้ ฉะนั้นจบปัญหาที่ทำให้การใช้ชีวิตของคุณสะดุดด้วยการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงโดยเฉพาะ ในการออกแบบห้อง วัดค่าเสียง เลือกวัสดุที่ตรงกับความต้องการ แก้ปัญหาเสียงรบกวนเวลาทำงานหรือ เวลาเรียนออนไลน์ของลูกๆ และในยามพักผ่อน คุณสามารถควบคุมได้ทั้งงบประมาณและระยะเวลาในการปรับปรุงห้อง จะสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด ไม่ต้องปวดหัวแก้ไขหลายๆรอบ และที่สำคัญไม่เกิดการทะเลาะกับเพื่อนบ้านให้ปวดหัว เครียดสติแตกไปชะก่อน

Data : www.ddproperty.com, legatool.com, th.wikihow.com,
Photo : www.stopandstor.com