Live Streaming พลิกโฉมธุรกิจดนตรีสู่ความสำเร็จ สร้างรายได้มหาศาล

โควิด-19 ทำให้หลายคนเกิดความเครียดต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพราะออกจากบ้านไม่ได้ แถมเศรษฐกิจทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบอย่างทั่วถึงกัน ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจค่ายเพลง นักร้อง นักดนตรี ที่เสียงเพลงจะมาเติมเต็มความสุขเยียวยาจิตใจของเหล่าแฟนคลับและผู้คนทั่วไป ก็จำเป็นต้องหยุดชะงักไปด้วย การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะทำให้รายได้ของอุตสาหกรรมเพลงทั่วโลกลดลง 25% ส่วนรายได้ของการแสดงดนตรีสดลดลงมากถึง 75% การนำ Live Streaming เข้ามาใช้ในการจัดคอนเสิร์ต เป็นทางออกที่น่าสนใจอย่างมาก แม้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่บางธุรกิจก็ยังไม่เคยนำมาใช้อย่างจริงจัง ดังนั้นถือเป็นเรื่องท้าทายที่ธุรกิจต้องปรับให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้ Live Streaming ตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเพลงอยู่รอด เจาะกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด พร้อมขยายฐานแฟนคลับทั้งในและนอกประเทศ โอกาสดีๆ ที่เจ้าของธุรกิจห้ามพลาด Live Streaming พลิกโฉมธุรกิจดนตรีสู่ความสำเร็จ สร้างรายได้มหาศาล มาติดตามกัน

ธุรกิจค่ายเพลง ดนตรี ก้าวสู่ยุคใหม่ Live Streaming Concert 

การเข้ามาของแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Youtube, Music streaming ช่องทางต่างๆ ก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์มากขึ้น ทำให้บางค่ายต้องปรับกลุ่มเป้าหมายใหม่ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคเพลงที่เปลี่ยนไป  จากที่ก่อนหน้านี้ธุรกิจได้เริ่มปรับตัวและค่อยๆ ทรงตัวมาตลอด เมื่อมาเจอวิกฤตโควิด-19 ซ้ำเติมเข้าไปอีก ถือว่าได้รับผลกระทบไปเต็มๆ ทุกสิ่งหยุดชะงักทันที เพราะทุกคนไม่สามารถเดินทางได้ อีเวนต์ต่างๆ คอนเสิร์ต หรืองานที่วางแผนไว้ช่วงต้นปีก็มีอันต้องยกเลิก ทำให้รายได้หดหายในพริบตา ส่งผลให้ศิลปินต้องปรับตัวหาอาชีพใหม่ๆ เพื่อสร้างรายได้ทดแทน โดยเห็นได้จากศิลปินเริ่มใช้ช่องทางออนไลน์มาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับแฟนคลับ การร้องเพลงเพียงไม่กี่ประโยคและเล่นดนตรีจากบ้านของตัวเอง ช่วยสร้างรอยยิ้มให้กับแฟนคลับในช่วงสั้นๆ และยังมีการ Live Streaming เพื่อจัดระดมทุนช่วยเหลือกันในเรื่องต่างๆ นับเป็นการปรับตัวที่เห็นผลชัดเจน และส่วนของการจัดการภายใน ค่ายเพลงเองก็ต้องหันมาทบทวนโมเดลธุรกิจใหม่ว่าต้องปรับเปลี่ยนการบริหารจุดใดบ้าง เพื่อให้ธุรกิจมีรายได้เข้ามาเหมือนเดิม

Live Streaming คืออะไร ทำให้ธุรกิจดนตรีรอดพ้นวิกฤตได้อย่างไร

การเกิดวิกฤตไม่ได้หมายความว่าจะต้องเจอทางตันตลอด เพราะจริงๆ แล้วในทุกๆ วิกฤตมักมีโอกาสซ่อนอยู่ในนั้นเสมอ เช่นเดียวกับธุรกิจเพลงที่นำเอา Live Streaming มาใช้เพื่อให้อยู่รอดได้ในยุคนี้ และเป็นอีกหนึ่งช่องทางประชาสัมพันธ์ธุรกิจให้ถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง แม้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เมื่อนำมาใช้ในช่วงเวลาวิกฤตก็มีความท้าทายซ่อนอยู่ Live Streaming คือ การถ่ายทอดสด หรือจัดคอนเสิร์ตออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ค่ายเพลงสะดวก ในอีกแง่หนึ่งเป็นช่องทางสำหรับสร้างคอนเทนต์ไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งตอนนี้ได้รับความนิยมมากเพราะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ตก็เข้าชมสดๆ ได้แล้ว อีกทั้งสามารถทำได้แบบ Real Time ไร้ขอบเขตและปราศจากข้อจำกัดใดๆ โดยธุรกิจสามารถสร้างรายได้จากการขายบัตรเข้าชม ให้แฟนคลับของศิลปินเข้าร่วมงานผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ ได้โดยที่ไม่ต้องเดินทาง หรือบางคอนเสิร์ตก็เปิดให้ชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย หรืออาจเปิดให้ผู้ชมเข้ามาสนับสนุนตามความสมัครใจ ไม่ว่าจะเป็นคอนเสิร์ตรูปแบบไหนก็มีข้อดี คือ ทำให้ศิลปินและแฟนคลับใกล้ชิดกันมากขึ้นเหมือนอยู่ในคอนเสิร์ตแบบเดิม ทั้งยังสร้างความสบายใจและรู้สึกปลอดภัยเรื่องการเว้นระยะห่างทางสังคมอีกด้วย

ความแตกต่างของ Live Streaming  คอนเสิร์ต และคอนเสิร์ตแบบปกติ

แน่นอนว่าการ Live Streaming คอนเสิร์ต กับการจัดคอนเสิร์ตแบบปกติย่อมมีความแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของผู้ชมด้วยว่าชอบแบบไหนมากกว่ากัน ดังนั้น เราจะมาชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของทั้ง 2 รูปแบบนี้ เพื่อให้เห็นภาพรวมชัดเจนมากขึ้น

  • สถานที่ เดิมการจัดคอนเสิร์ตแบบปกติทางผู้จัดต้องหาสถานที่เพื่อรองรับแฟนคลับจำนวนมาก ต้องเสียค่าเช่าสถานที่ ยิ่งสถานที่ขนาดใหญ่ค่าเช่าก็จะสูงตาม แต่หากจัดคอนเสิร์ตรูปแบบใหม่ Live Streaming นั้น แค่มองหาพื้นที่เล็กๆ ไม่ว่าจะเป็นสตูดิโอ ห้องเก็บเสียง ห้องพื้นที่ไม่ต้องใหญ่ ไว้ถ่ายทอดสดก็เพียงพอ ซึ่งอาจเป็นสถานที่ที่ธุรกิจค่ายเพลงมีอยู่แล้ว พร้อมทั้งต้องมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อให้เหล่าแฟนคลับได้ชื่นชมศิลปินที่ตัวเองรักได้อย่างเต็มที่ และเหนือกว่าด้วยการรองรับคนได้มากกว่าปกติหลายเท่า
  • ความรู้สึก เรามักคุ้นชินกับการไปคอนเสิร์ตแบบปกติที่ต้องเดินทางฝ่ารถติดไปสถานที่นั้นจริงๆ ได้สัมผัสศิลปินแบบไม่มีหน้าจอมากั้น ตื่นตาตื่นใจกับแสง สี เสียง เอฟเฟกต์ของจริง ต่างจากการจัดคอนเสิร์ตแบบ Live Streaming ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจไม่ได้อรรถรสหรือความสนุกเท่าแบบเดิม แต่หากผู้จัดนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาร่วมด้วย เช่น ภาพ 3 มิติ หรือเทคโนโลยี AR รับรองว่าความรู้สึกของผู้ชมนั้นแทบจะไม่แตกต่างกันเลย เพราะสามารถเพิ่มความตื่นตาตื่นใจเหมือนอยู่ในคอนเสิร์ตจริงๆ บางงานยังสามารถเพิ่มลูกเล่นด้วยการวิดีโอคอลกับแฟนคลับผู้โชคดี ก็เพิ่มความฟินได้ไม่แพ้การจัดคอนเสิร์ตแบบเดิมทีเดียว
  • เรื่องค่าใช้จ่าย การจัดคอนเสิร์ตรูปแบบเดิมนั้น ผู้จัดต้องเสียค่าใช้จ่ายไปกับการโปรโมตในช่องทางต่างๆ รวมถึงทางออฟไลน์ด้วย แต่การจัดแบบ Live Streaming จะเน้นการโปรโมตผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้เจาะกลุ่มเป้าหมายโดยตรง และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างทีมงานต่างๆ ไปได้มาก ทั้งทีมคอยดูแลจัดการสถานที่ ดูแลศิลปิน ดูแลแสง สี เสียง อำนวยความสะดวกให้ผู้ชม เพราะการ Live Streaming นั้นสามารถจัดในสถานที่เล็กๆ เน้นเรื่องเทคโนโลยีสดใหม่ และอินเทอร์เน็ตที่เสถียรแทน ซึ่งทุกค่ายเพลงสามารถหันมาจัดได้อย่างอิสระ

Live Streaming ธุรกิจดนตรีที่ประสบความสำเร็จ สร้างรายได้มหาศาล

ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ครั้งใหม่ของวงการเพลง ที่ใครจะคาดคิดว่าการจัดคอนเสิร์ตออนไลน์แบบนี้จะสามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาล ซึ่งยืนยันได้จากบอยแบรนด์ชื่อดังของเกาหลีใต้อย่างวง BTS ที่มีแฟนคลับกว่า 7.5 แสนคนทั่วโลก ยอมจ่ายเงินจำนวน 26-35 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อรับสิทธิ์เข้าชมคอนเสิร์ตแบบ Live Streaming ที่มีชื่อว่า ‘Bang Bang Con The Live’ ส่งผลให้กลายเป็นวงบอยแบรนด์ที่สามารถทำเงินจากคอนเสิร์ตออนไลน์ได้มากที่สุดในเกาหลีใต้ราว 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นอกจากนี้ Live Streaming Concert ที่มีชื่อว่า ‘THE SHOW- Live Streaming Concert’ ครั้งล่าสุดของวง Black Pink ก็ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน โดยทำเงินได้มากถึง 316 ล้านบาท และนี่ยังไม่นับรวมของที่ระลึกจากคอนเสิร์ตซึ่งสร้างรายได้มากถึง 403 ล้านบาท ในด้านศิลปินจากตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ก็มีการจัดคอนเสิร์ตแบบออนไลน์เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น Katy Perry, Melissa Etheridge, Josh Groban, The Black Crowes และ Tim McGraw เจ้าพ่อแห่งแนวเพลง Country มีการคาดหมายว่าจะสามารถทำเงินได้มหาศาล ซึ่งในไทยของเราก็เริ่มมีการ Live Streaming Concert ด้วยเช่นเดียวกัน จากเคสตัวอย่าง คอนเสิร์ตออนไลน์ที่ได้รับกระแสตอบรับที่ดีและมีรายได้มหาศาล ทำให้เห็นได้ชัดมากขึ้นว่าการพลิกโฉมวงการดนตรีนี้จะก้าวไปในทิศทางไหน นักธุรกิจก็เตรียมลงทุนกันมากยิ่งขึ้น

 

ทำอย่าไรให้ Live Streaming ดึงดูดผู้ชม

การจะทำให้คอนเสิร์ตแบบไร้ข้อจำกัดเรื่องสถานที่และเวลานี้เป็นที่สนใจของผู้ชม นอกจากชื่อเสียงแบรนด์ดนตรีแล้ว คุณภาพการผลิตก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรใส่ใจ ไม่ว่าจะเป็น แสง สี เสียง เทคโนโลยีที่ทันสมัย  ความหลากหลายของแพลตฟอร์มในการรับชม รวมไปถึงโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดใจแฟนเพลงให้ได้มากที่สุด ที่สำคัญยังเป็นการเปิดทางให้ธุรกิจดนตรีให้สามารถเข้าไปโลดแล่นอยู่ในสื่อออนไลน์ได้อย่างเต็มตัว สร้างช่องทางใหม่ๆ ในการสื่อสารเพื่อขยายฐานแฟนคลับให้กว้างขึ้น สามารถนำมาต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าได้อีกหลายทาง เช่น การทำ Music Marketing ร่วมกับสินค้าต่างๆ ในอนาคต การจัด Live Streaming อาจไม่ใช่แค่แพลตฟอร์มหรือช่องทางเสริมเพื่อให้ธุรกิจดนตรียังคงมีรายได้ประคองตัวไปจนกว่าสถานการณ์โควิด 19 จะกลับมาเป็นปกติ แต่อาจกลายเป็นช่องทางหลักสำหรับการหารายได้ในอนาคต เนื่องจากความสำเร็จที่เกิดขึ้นทำให้เห็นแล้วว่า การจัดคอนเสิร์ตแบบออนไลน์ ก็สามารถสร้างประสบการณ์ ความประทับใจ และส่งตรงความสนุกผ่านหน้าจอให้กับผู้ชมได้ไม่แพ้กับการร่วมงานคอนเสิร์ตจริง

สร้างสตูดิโอ เก็บเสียง Live Streaming Concert  สุดปัง

ห้องสตูดิโอครบครันแบบมืออาชีพ แน่นอนว่าทุกอย่างจะต้องเป๊ะและให้ความเป็นมืออาชีพสูง ตามหลักของห้องสตูดิโอที่น่าจะเป็นไม่ว่าจะเป็นอคูสติกห้องหรือการเก็บเสียงทุกอย่างก็จะถูกออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ซึ่งในจุดนี้ก็ค่อนข้างจะมีรายละเอียดพอสมควร เช่น ในเรื่องของผนังห้อง เพดานห้อง พื้นห้อง วัสดุซับเสียงต่างๆ ก็มีความสำคัญที่จะส่งผลโดยตรงกับคุณภาพของงาน พื้นที่ ที่ติดตั้งอุปกรณ์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ เช่น มิกเซอร์ โปรเซสเซอร์ต่างๆลำโพงมอนิเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ก็ควรกว้างพอที่ ให้ซาวด์เอ็นจิเนียและโปรดิวส์เซอร์สามารถนั่งทำงานได้ไม่อึดอัด ส่วนที่สอง ก็คือห้องสำหรับบันทึกเสียง ไม่ว่าจะเป็นเสียงร้อง เสียงกลอง กีต้าร์ และเครื่องดนตรีอื่นๆ ซึ่งในห้องนี้ควรมีเสียงรบกวนที่ต่ำมากๆเท่าที่จะทำได้ หรือเงียบเป็นพิเศษซึ่งก็จะเป็นเรื่องของเทคนิคที่จะทำให้ห้องนี้มีเสียงรบกวนที่ต่ำที่สุด เพื่อให้ได้คุณภาพของเสียงร้องและเครื่องดนตรีที่มาจากแหล่งต้นกำเนิดเสียงที่เราจะบันทึกให้ได้มีความเป็นธรรมชาติมากที่สุด และทั้งสองส่วนนี้ทั้งห้องคอนโทรลและห้องบันทึกเสียงก็ไม่ควรมีเสียงเล็ดรอดมารบกวนซึ่งกันและกัน

บทความที่น่าสนใจ :
Nursery Room ห้องเด็กเล็กปลอดภัยไร้เสียง พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้! เตือนแล้วนะ

Work From Home ปรับปรุงบ้านให้ไร้เสียงรบกวน ปรับตัว อัพสกิลรับโควิดระลอกที่ 3

GAMING ROOM ห้องเก็บเสียงดีไซน์สุดเจ๋ง! ในฝันของนักแคสเกมและสตรีมเมอร์

Music room เปลี่ยนห้องเปล่า ให้เป็นห้องซ้อมดนตรี มันส์ได้เต็มที่ในช่วงโควิด-19

อยากมีห้องสตูดิโอส่วนตัว (Studio) ฟังทางนี้

Live Streaming พลิกโฉมธุรกิจดนตรีสู่ความสำเร็จ สร้างรายได้มหาศาล การทำ Live Streaming จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถทำให้ธุรกิจดนตรีเติบโตต่อไปได้ มีช่องทางการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น แถมยังประหยัดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการจัดคอนเสิร์ตแต่ละครั้ง อีกทั้งยังเป็นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างตรงจุดแบบ Real time สำคัญไม่แพ้ปัจจัยอื่นๆ คือสถานที่ ต้องมีความพร้อม สร้างห้องเก็บเสียง สตูดิโอ ห้องบันทึกเสียง ห้องถ่ายทอดสด ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงโดยตรง เพื่อออกแบบและแก้ปัญหา ให้ธุรกิจดนตรีของท่านเดินหน้า สู้โควิด และคืนความสุข ให้แฟนคลับที่รอสนับสนุนอยู่อย่างแน่นอน

Source: https://marketeeronline.co/ , www.tot/smetrip