Fire protection ป้องกันและระงับอัคคีภัย โรงงาน คลังสินค้าโกดัง ก่อนจะสาย

“ถูกขโมยขึ้นบ้าน10 ครั้ง ไม่เท่าไฟไหม้บ้านครั้งเดียว” อากาศร้อนนอกจากจะทำให้การทำงานยากลำบากยิ่งขึ้นแล้ว อันตรายอีกอย่างที่ไม่ควรมองข้ามคือเรื่องไฟไหม้ เพราะสภาพอากาศร้อน ทำให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ในโรงงาน คลังสินค้า โกดัง มีความร้อนสูงขึ้น รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้ เพลิงไหม้ในอาคาร คลังสินค้า โรงงาน เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ่อย เพลิงไหม้ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน การเกิดไฟไหม้ในโรงงาน โกดัง และคลังสินค้า ซึ่งเป็นอาคารสำหรับทำงาน ทำธุรกิจ เป็นที่ตั้งของเครื่องจักรและสินค้ามูลค่าสูง นอกจากนี้อาจรวมไปถึงข้อมูลทางธุรกิจที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ในโรงงาน และ คลังสินค้า จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ อุบัติเหตุในโรงงาน เกิดขึ้นได้เสมอ มาติดตามเจาะลึก ป้องกันปัญหาไฟไหม้ไปด้วยกัน Fire protection ป้องกันและระงับอัคคีภัย โรงงาน คลังสินค้าโกดัง ก่อนจะสายเกินไป

ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย ตามกฎหมาย

สำหรับระบบป้องกันอัคคีภัยตามกฏหมายบังคับของกระทรวงนั้น มีข้อบังคับดังนี้

  • การจัดอุปกรณ์ดับเพลิงด้วยสัญลักษณ์ที่เป็นสากล
  • การจัดการของเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอัคคีภัยได้ง่าย
  • การติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
  • แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย การตรวจตรา การอบรม การอพยพ การดับเพลิง และการฟี้นฟู
  • แผนผังทางหนีไฟ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม: ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย | คู่มือการปฏิบัติงาน การป้องกันและระงับอัคคีภัยโรงงาน 2552

วิธีป้องกันไฟไหม้โรงงาน โกดังและคลังสินค้า

  1. ติดป้ายสัญลักษณ์ทางออกที่ชัดเจนบนประตู สัญลักษณ์ที่ประตูทางออกควรชัดเจน มองเห็นง่าย และสะดุดตา อาจติดป้ายแบบกล่องไฟหรือใช้สติ๊กเกอร์สะท้อนแสงก็ได้ นอกจากนี้ควรใช้รูปภาพหรือข้อความที่เป็นสากลเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันสำหรับพนักงานทุกคนว่า “นี่คือประตูทางออก”
  2. อย่าล็อคทางเข้าออกทุกทางและควรมีทางออกฉุกเฉินโดยเฉพาะ แม้ว่าประตูหน้าและประตูส่วนอื่นของโรงงาน โกดัง และคลังสินค้าจะต้องล็อคอย่างแน่นหนา แต่ควรจัดให้มีทางออกฉุกเฉินหรือประตูหนีไฟที่สามารถเปิดปิดได้ตลอดเวลาโดยไม่มีการล็อคเอาไว้เสมอและควรจัดการให้สามารถผ่านเข้าออกได้อย่างสะดวกระหว่างที่พนักงานอยู่ในอาคาร
  3. ตรวจสอบว่าเครื่องตรวจจับควันและเพลิงไหม้ทำงานได้อย่างเป็นปกติ วิธีป้องกันไฟไหม้ที่ดีที่สุดอีกทางหนึ่งก็คือการตรวจสอบเครื่องตรวจจับควันและเพลิงไหม้เป็นระยะว่าอุปกรณ์เหล่านี้ยังทำงานได้เป็นปกติ ไม่มีเหตุขัดข้อง เพื่อให้มั่นใจว่าหากเกิดไฟไหม้ขึ้นมา เครื่องตรวจจับควันและเพลิงไหม้จะสามารถส่งเสียงแจ้งเตือนบุคลากรภายหรือเปิดอุปกรณ์ดับเพลิงในโรงงานและโกดังคลังสินค้าได้ทันที
  4. สัญญาณเตือนเพลิงไหม้ควรทำงานได้อย่างเป็นปกติ สัญญาณเตือนเพลิงไหม้เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ป้องกันไฟไหม้โรงงาน โกดังและคลังสินค้าที่ขาดไม่ได้เลยค่ะ เพราะเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ขึ้นมา พนักงานสามารถกดปุ่มฉุกเฉินเพื่อแจ้งเตือนไฟไหม้ได้ทันที จากนั้นสัญญาณเตือนนี้จะดังไปทั่วทั้งอาคาร เพราะฉะนั้นควรตรวจสอบสัญญาณเตือนเป็นประจำเพื่อให้มั่นใจว่าสัญญาณทำงานได้เป็นปกติ ทำการตรวจสอบการป้องกันอัคคีภัยอย่างสม่ำเสมอผู้ประกอบการควรจัดให้มีการซ้อมหนีไฟอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง รวมถึงวางแผนตารางตรวจเช็กระบบป้องกันอัคคีภัยภายในโรงงานและโกดังคลังสินค้าอย่างสม่ำเสมอ
  5. อย่าให้มีสิ่งกีดขวางเครื่องดับเพลิง  การติดตั้งเครื่องดับเพลิงควรอยู่ในจุดที่สังเกตเห็นง่ายและสามารถเข้าถึงได้ง่าย ไม่ควรมีสิ่งกีดขวางระหว่างทางเดินและเครื่องดับเพลิง ทั้งนี้ก็เพื่อให้การหยิบมาใช้งานสะดวกที่สุด
  6. อบรมวิธีใช้เครื่องดับเพลิงอย่างถูกต้องแก่พนักงาน เครื่องดับเพลิงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้ไม่ยาก แค่ต้องมีความรู้และเข้าใจขั้นตอนการใช้งานที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นอย่าลืมจัดอบรมการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงให้กับพนักงานทุกคนในอาคารโรงงาน โกดังและคลังสินค้าของเราด้วย
  7. ควรมีระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงเป็นวิธีป้องกันไฟไหม้ที่มีประสิทธิภาพ เพราะหัวฉีดที่ติดตั้งไว้บนเพดานจะทำงานเมื่อตรวจพบควันหรือสัญญาณไฟไหม้ จากนั้นมันจะทำการฉีดน้ำออกมาโดยอัตโนมัติเป็นวงกว้าง การฉีดน้ำในลักษณะนี้ครอบคลุมและสามารถดับเพลิงได้ดี เป็นตัวช่วยควบคุมไม่ให้ไฟลุกลามได้
  8. เก็บสารเคมีในตู้กันไฟที่ปิดสนิท การลดความเสี่ยงเป็นวิธีป้องกันไฟไหม้ที่ดีที่สุด เพราะฉะนั้นหากโรงงาน โกดังหรือคลังสินค้าของคุณมีสารเคมีอันตราย ก็ควรเก็บในตู้กันไฟที่ปิดสนิท เพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีเหล่านี้กลายเป็นเชื้อไฟเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้
  9. มาตรการเรื่องการสูบบุหรี่ ทุกโรงงานโกดังและคลังสินค้าควรตั้งกฎห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่ทำงาน แต่อาจจัดมุมสำหรับสูบบุหรี่โดยเฉพาะเอาไว้นอกอาคารโดยมีโครงสร้างปิดล้อมอย่างเป็นสัดส่วน
  10. หมั่นตรวจสอบระบบไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าที่บกพร่องคือภัยเงียบอย่างที่คุณก็อาจคาดไม่ถึง ดังนั้นอย่าลืมตรวจสอบว่าระบบไฟฟ้าของคลังสินค้าโกดังและโรงงานของคุณติดตั้งและได้รับการบำรุงรักษาตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ รวมถึงทำสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาติดตั้งบำรุงระบบไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติถูกต้องให้มาตรวจสอบและทดสอบระบบไฟฟ้าของคุณเป็นประจำ หากตรวจพบข้อบกพร่องใด ๆ จะได้ทำการแก้ไขทันที ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสายไฟที่ชำรุดหรือเก่าเพราะไม่อย่างนั้นระบบไฟฟ้าที่เราปล่อยให้เสียหายอาจเป็นตัวการก่อไฟไหม้ขึ้นมาก็ได้ อย่าปล่อยให้สายและสายไฟอยู่ในสภาพเปลือยหรือห้อยระโยงระยาง สายไฟภายในโรงงาน โกดังและคลังสินค้าควรจัดเก็บให้เรียบร้อย
  11. หมั่นตรวจสอบเครื่องจักรและระบบทำความร้อน เครื่องจักรและระบบทำความร้อนของโรงงานขัดข้องเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดไฟไหม้โรงงาน เป็นภัยเงียบอย่างที่คุณก็อาจคาดไม่ถึง ดังนั้นอย่าลืมตรวจสอบว่าระบบเครื่องจักรและระบบทำความร้อนของคลังสินค้าโกดังและโรงงานของคุณติดตั้งและได้รับการบำรุงรักษาตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ รวมถึงทำสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาติดตั้งบำรุงเครื่องจักรและระบบทำความร้อนที่มีคุณสมบัติถูกต้องให้มาตรวจสอบและทดสอบระบบเครื่องจักรและระบบทำความร้อนของคุณเป็นประจำ หากตรวจพบข้อบกพร่องใด ๆ จะได้ทำการแก้ไขทันที เพราะไม่อย่างนั้นเครื่องจักรและระบบทำความร้อนที่เราปล่อยให้เสียหายอาจเป็นตัวการก่อไฟไหม้ขึ้นมาก็ได้
  12. ทำประกันอัคคีภัย นอกจากการเตรียมการเพื่อป้องกันไฟไหม้คลังสินค้า โกดังหรือโรงงาน การปกป้องและคุ้มครอง “ความเสี่ยง” ด้วยการทำประกันอัคคีภัยก็เป็นอีกตัวเลือกเพื่อช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้กับธุรกิจของเราได้ ดังนั้นทุกอาคารโรงงาน โกดัง และคลังสินค้า ท่านผู้ประกอบการควรจัดการให้มีการทำประกันภัยไว้เผื่อเหตุการณ์ไม่คาดคิด

ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒

ประกาศนี้บังคับใช้กับโรงงานจำพวกที่ 2 และ จำพวกที่ 3 เท่านั้น โดยไม่บังคับใช้กับโรงงานจำพวกที่ 1 ตามพรบ.โรงงาน พ.ศ.2535 ได้มีการแบ่งโรงงานออกเป็น 3 จำพวกดังนี้

  • โรงงานจำพวกที่ 1 ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทันทีตามความประสงค์ของผู้ประกอบกิจการโรงงาน
  • โรงงานจำพวกที่ 2 ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่เมื่อจะประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งให้ทราบก่อ
  • โรงงานจำพวกที่ 3 ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่ตั้งโรงงานต้องได้รับใบอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินการได้ลิงค์ดาวน์โหลดประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ.2552
    http://www.diw.go.th/hawk/law/safety/23.pdf
    ลิงค์ดาวน์โหลด ตรวจสอบประเภทโรงงาน ตามพรบ.โรงงาน พ.ศ.2535
    http://www2.diw.go.th/mac/form/A2_FORM/DOC_%20A/Law_industry35.pdf

 

การติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย

  • ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm)
    ให้มีอุปกรณ์ตรวจจับ(Smoke/Heat Detector) และอุปกรณ์แจ้งเตือน(Alarm Bell, Strobe Light)ครอบคลุมทั่วทั้งอาคารตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สามารถเป็นระบบ manual ได้ หากเป็นพื้นที่ที่ไม่มีคนงานปฏิบัติงานประจำ และมีเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเก็บวัตถุไวไฟหรือติดไฟง่ายต้องมีระบบแจ้งเหตุอัตโนมัติ หรือก็คือต้องมีตู้ Fire Alarm Control Panel

ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ มีส่วนประกอบหลักที่สำคัญคือ

  • อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้
  • (2) ตู้ควบคุมระบบ และ
  • อุปกรณ์เตือนภัย โดยแต่ละส่วนประกอบเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งระบบจะทำงานตรวจจับเพลิงไหม้และส่งสัญญาณเตือนภัย เพื่อให้ผู้อยู่ภายในอาคารอพยพออกไปนอกอาคารหรืออพยพไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัยซึ่งมีการกำหนดไว้
  • อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector)

มี 2 แบบ คือ แบบจุด (Spot Type) แบบต่อเนื่อง (Linear Type)โดยแบบจุด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ (1) ประเภทลำแสง(Photoelectric Type) และ (2) ประเภทรวม (Combine Type) โดยแบบรวมนี้สามารถตรวจจับได้ทั้งควันไฟและความร้อน โดยอุปกรณ์ต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์สากลที่เป็นที่ยอมรับเช่น UL (Underwriters Laboratories), FM (Factory Mutual) เป็นต้น

  • อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน(Heat Detector)
    มี3 แบบ คือ (1) แบบความร้อนคงที่ (Fixed Temperature Type) เป็นการตรวจจับที่อุณหภูมิคงที่ เช่น ที่อุณหภูมิ 57 องศาเซลเซียส เมื่อเกิดเพลิงไหม้และในพื้นที่มีความร้อนถึงอุณหภูมินั้น อุปกรณ์จะทำงานทันที (2) แบบความร้อนผันแปร (Rate of Rise Type) อุปกรณ์จะทำงานทันทีเมื่ออุณหภูมิภายในพื้นที่มีการเปลี่ยนอุณหภูมิ 8 องศาเซลเซียส ภายในช่วงเวลา 1 นาที (3) แบบรวม (Combine Type) โดยแบบนี้เป็นการรวมอุปกรณ์ตรวจจับแบบ (1) และแบบ (2) มาใช้ในอุปกรณ์ตัวเดียวกัน ซึ่งสามารถตรวจจับความร้อนได้ทั้ง 2 แบบ

    • การเลือกใช้อุปกรณ์ตรวจจับจะจำแนกจากระยะเวลาของการเกิดไฟซึ่งสามารถแบ่งเป็น 4 ระยะได้ดังนี้

ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น (Incipient Stage) ซึ่งระยะนี้จะไม่สามารถมองเห็นอนุภาคของควัน ควันไฟ เปลวไฟ และจะไม่รู้สึกถึงความร้อน อุปกรณ์ตรวจจับที่เหมาะสมคือ อุปกรณ์ตรวจจับไอออน และก๊าซจากการเผาไหม้

ระยะที่ 2 ระยะเกิดควัน (Smoldering Stage) ซึ่งระยะนี้เราไม่สามารถมองเห็นเปลว และจะไม่รู้สึกถึงความร้อน แต่จะมองเห็นควันไฟ อุปกรณ์ตรวจจับที่เหมาะสมคือ อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ
**ใช้ Smoke Detector เมื่อต้องการตรวจจับระยะนี้**

ระยะที่ 3 ระยะเกิดเปลวไฟ (Flame Stage) ซึ่งระยะนี้เราสามารถมองเห็น เปลวไฟ ควันไฟ และเริ่มรู้สึกถึงความร้อน อุปกรณ์ตรวจจับที่เหมาะสมคือ อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ
**ใช้ Heat Detector เมื่อต้องการตรวจจับระยะนี้**

ระยะที่ 4 ระยะเกิดความร้อน ( Heat Stage) ซึ่งระยะนี้เราสามารถมองเห็นเปลวไฟควันไฟ จะไม่สามารถควบคุมความร้อนได้ อากาศร้อนจะแผ่ขยายตัวออกไป อุปกรณ์ตรวจจับที่เหมาะสมคือ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน Incipient Stage Smoldering Stage Flame Stage Heat Stage

(มาตราฐาน วสท. กำหนดไว้ว่า พื้นที่ที่ช่วยชีวิต เช่น ห้องนอน ห้องสำคัญๆ และทางเดินสำหรับอพยพ ต้องใช้อุปกรณ์ตรวจจับควันเท่านั้น แต่พื้นที่อื่นๆที่พิจารณาแล้วว่าเป็นแค่พื้นที่ป้องกันทรัพย์สิน หมายถึงห้องทั่วไป ก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับแบบควันก็ได้ ให้ติดแบบตรวจจับความร้อนก็ได้

  • เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ (Protable Fire Extinguisher)
    – บังคับให้มีเครื่องดับเพลิง ให้เหมาะสมกับประเภทของเชื้อเพลิง และเป็นไปตามมาตรฐานมอก.หรือเทียบเท่า
    – เครื่องดับเพลิงต้องมีขนาดบรรจุ ไม่น้อยกว่า 5กก. หรือมีขนาดตั้งแต่ 10 ปอนด์ขึ้นไป
    – ต้องมีการตรวจสอบเครื่องดับเพลิงเป็นประจำ โดยมีระยะเวลาตรวจสอบอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน
    – เครื่องดับเพลิงต้องติดตั้งในระยะห่างกันไม่เกิน 20 เมตร (มีจุดประสงค์ให้สามารถหยิบใช้งานได้ภายในระยะ 20 เมตร)
    – ติดตั้งเครื่องดับเพลิง ให้สวมบนสุดเครื่องดับเพลิงมีความสูงไม่เกิน 1.5เมตรจากพื้น(เพื่อให้หยิบใช้ได้สะดวก) และให้มีป้ายสัญลักษณ์ที่มองเห็นได้ชัดเจนและไม่มีสิ่งกีดขวาง
  • ระบบน้ำดับเพลิง
    – ต้องมีการจัดเตรียมน้ำให้เพียงพอที่จะจ่ายให้อุปกรณ์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที ระบบน้ำดับเพลิงประกอบไปด้วย ระบบท่อยืน, หัวจ่ายน้ำอัตโนมัติ และเครื่องสูบน้ำดับเพลิง สำหรับโรงงานที่สถานที่มีสถานที่จัดเก็บวัตถุติดไฟได้เกิน1,000 ตรม. ต้องมีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ (ระบบหัวกระจายน้ำอัตโนมัติ หรือระบบอื่นที่เทียบเท่า)
    โรงงานที่มีพื้นที่ต่อเนื่องน้อยกว่า 1,000 ตรม. สามารถใช้เฉพาะระบบท่อยืนและเครื่องสูบน้ำได้
    – สถานที่จัดเก็บวัตถุไวไฟ พื้นที่เกิน 14 ตรม. ต้องติดตั้งระบบอัตโนมัติให้เหมาะสมกับพื้นที่
    – การติดตั้งต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับ
  • การตรวจสอบ ทดสอบและบำรุงรักษา ระบบและอุปกรณ์ต่างๆ
    – ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีแผนการตรวจสอบ การทดสอบ และการบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์สำหรับการป้องกันและระงับอัคคีภัย เพื่อให้ระบบและอุปกรณ์ มีความพร้อมในการทำงานได้ตลอดเวลา โดยการตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์นี้สามารถดำเนินการโดยการใช้เอกสารตามแนบท้าย หรือสามารถใช้ตามมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับ ตัวอย่างเช่น NFPA 25 Standard for the Inspection, Testing, and Maintenance of Water-Based Fire Protection Systems เป็นต้น
  • การฝึกอบรม เพื่อป้องกันและระงับอัคคีภัย
    – จัดให้คนงานได้รับการฝึกอบรมเรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด ทั้งนี้ต้องมีเอกสารหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้ โดยรายละเอียดการฝึกอบรมเรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยให้เป็นไปตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม

Fire protection ป้องกันและระงับอัคคีภัย โรงงาน คลังสินค้าโกดัง ก่อนจะสายเกินไป  แน่นอนเรื่องความปลอดภัยในโรงงานคลังสินค้า โกดัง ต้องมาก่อน ยิ่งเป็นเรื่องของไฟไหม้ อัคคีภัย ไม่ควรมองข้าม ทั้งเรื่องการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ตามกฎหมาย รวมไปถึงการดูแลรักษาอุปกรณ์ ให้ใช้งานได้ปกติ การซ้อมบำรุง การฝึกอบรมล้วนเป็นเรื่องสำคัญของเจ้าของกิจการและพนักงานทุกท่านต้องช่วยกันตวรจสอบ ยิ่งสภาพอากาศร้อนอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การป้องกันอัคคีภัย จึงเป็นเรื่องจำเป็น การสร้างคลังสินค้า โกดัง สร้างโรงงาน ต้องมีการก่อสร้างที่ได้คุณภาพและมีมาตรฐาน มีการติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุและระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย จึงเป็นระบบที่สำคัญ ผู้ประกอบการควรติดตั้ง ระบบจะช่วยส่งสัญญาณเตือนก่อนที่เพลิงจะเกิดการลุกลามอย่างรุนแรง จนไม่สามารถควบคุมได้ และระบบดับเพลิงอาจจะช่วยดับไฟได้ตั้งแต่เริ่มเกิดเหตุการณ์รวมถึงช่วยให้คุณมีเวลาพอที่จะอพยพออกจากอาคารได้อย่างปลอดภัย ซึ่งจะลดความเสียหายที่เกิดขึ้นได้สูง

Fire Protection system งานระบบป้องกันอัคคีภัย มีหลักเกณฑ์ในการออกแบบ และเลือกใช้วัสดุอย่างไร

Source : https://www.nextplus.co.th/expert-tips/fire-alarm-system-for-warehouse  , https://www.proindsolutions.com/17408536 , https://www.saturnfireproduct.com/article/6/