World Architecture Awards ไอเดียการออกแบบสถาปัตยกรรมคว้ารางวัลระดับโลก

สถาปัตยกรรมหลายประเทศคว้ารางวัลระดับโลก โดดเด่นสวยงาม และไอเดียสุดปัง แค่ไหน ขอนำไอเดียในการออกแบบสถาปัตยกรรมมาฝากกันต้อนรับปีใหม่ ไว้ลุยต่อกันในปี 2022  นี้ สำหรับหลายท่านที่กำลังมองหาไอเดีย ในโครงการใหม่ๆ  กับการออกแบบผลงานสถาปัตยกรรม ในปี 2021 ที่กำลังจะผ่านไป รางวัล Pritzker Architecture Prize ปี 2021 เป็นรางวัลระดับโลกที่ทรงเกียรติที่สุดของวงการสถาปัตยกรรม และรางวัล A+Awards ของเว็บไซต์ Architizer และซึ่งเป็นเว็บด้านสถาปัตยกรรมชื่อดังของโลกเช่นเดียวกัน ตามาดูไอเดียและแรงบันดาลใจในการออกแบบผลงาน หรือการก่อสร้างโครงการใหม่ๆ World Architecture Awards ไอเดียการออกแบบสถาปัตยกรรมคว้ารางวัลระดับโลก

Pritzker Architecture Prize ปี 2021

รางวัลพริตซ์เกอร์ (Pritzker Prize) เป็นรางวัลประจำปีที่มูลนิธิไฮแอตต์ (Hyatt) มอบเป็นเกียรติแก่สถาปนิกที่ยังมีชีวิตในปัจจุบัน (ขณะพิจารณารางวัล) เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2522 โดยเจย์ พริตซ์เกอร์ (Jay Pritzker) เป็นการพิจารณาให้รางวัลแก่งานสถาปัตยกรรมดีเด่นที่มีคุณภาพในระดับสากล โดยส่วนหนึ่งของเกณฑ์ในการพิจารณาให้รางวัลคือการสร้างนวัตกรรมที่ดีและมีคุณภาพ เสริมสร้างและบูรณาการการใช้เทคโนโลยีที่ดีในการก่อสร้าง สถาปนิกผู้ได้รับรางวัลจะได้รับเงิน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ รางวัลนี้เปรียบเสมือนรางวัลโนเบลผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม ปีนี้รางวัลตกเป็นของสองสถาปนิกชาวฝรั่งเศส Anne Lacaton และ Jean-Philippe Vassal ผู้ก่อตั้งสตูดิโอออกแบบในชื่อ Lacaton & Vassal  GreatArchitects “สถาปัตยกรรมที่ดีควรจะต้องเปิดกว้างเพื่อเพิ่มอิสระให้กับทุกคน โดยที่ทุกคนสามารถทำในสิ่งที่ต้องการได้ สถาปัตยกรรมไม่ควรแสดงออก หรือโอ่อ่า แต่ต้องเป็นสิ่งที่คนเห็นแล้วคุ้นเคย มีประโยชน์ สวยงาม และสามารถรองรับชีวิตที่จะเกิดขึ้นภายในนั้นได้อย่างเงียบๆ” – Anne Lacaton ทั้งคู่เห็นถึงความสำคัญของ ‘การเสริมสร้างชีวิตมนุษย์’ โดยให้ประโยชน์ต่อทั้งผู้อยู่อาศัยและสนับสนุนการพัฒนาของเมือง

จุดเด่นที่ทำให้ผลงานของทั้งคู่ควรค่าแก่การน่าจดจำ คือความใจกว้างของสถาปัตยกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงการสนับสนุนในเรื่องความยุติธรรมทางสังคม และความยั่งยืน โดยการจัดลำดับความสำคัญของการใช้งานพื้นที่ อิสระทางการใช้งาน ผ่านวัสดุที่ประหยัดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลงานของทั้งคู่จึงใส่ใจการออกแบบจากภายในสู่ภายนอก ด้วยการจินตนาการว่าผู้คนจะเคลื่อนไหวและใช้ชีวิตอย่างไรภายในที่ว่างเหล่านั้น อาคารต้องตอบสนองต่อการใช้งานและแน่นอนว่าต้องอยู่สบาย ฟาซาดและการใช้วัสดุจึงมักเกิดขึ้นในตอนท้ายของกระบวนการออกแบบ แต่กลมกลืนและเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันได้อย่างลงตัว การออกแบบที่รบกวนสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติน้อยที่สุด แทนที่จะกำจัดต้นไม้เดิม 46 ต้นบนพื้นที่โครงการ สองสถาปนิกเลือกที่จะได้ดูแลพืชพันธุ์พื้นเมืองเหล่านี้ โดยยกระดับตัวบ้านและสร้างบ้านขึ้นรอบ ๆ ลำต้น ทำให้ผู้อยู่อาศัยสามารถใช้ชีวิตท่ามกลางความเขียวขจีได้อย่างเต็มที่โดยไม่จำเป็นต้องตัดต้นไม้ทิ้งแม้แต่ต้นเดียว สถาปัตยกรรมของ Anne Lacaton และ Jean-Philippe Vassal เป็นสถาปัตยกรรมคิดบวก ด้วยความเชื่อที่พยายามจะรักษาทรัพยากรอันมีค่ารวมถึงให้ความสำคัญกับผู้ใช้งานอาคารเป็นหลัก แต่ละผลงานของพวกเขาจึงเรียบง่าย ไม่โฉ่งฉ่าง แต่ตระหนักถึงความเป็นอยู่ของทั้งมนุษย์ เมือง และธรรมชาติ ฝากผลงานอันน่าจดจำไปทั่วโลก สมกับบทบาทของสองสถาปนิกผู้คว้ารางวัล The Pritzker Architecture Prize ในปี 2021 นี้

The Architizer A+Awards

มาถึงรางวัลระดับโลกที่มีธีมงานประกวดของปีนี้คือ Architecture for a Changing World สถาปัตยกรรมที่เปลี่ยนโลก เป็นธีมที่ใหญ่และน่าสนใจมาก แม้จะไม่มีสถาปัตยกรรมของประเทศไทยในปีนี้ แต่ก็เคยมีสถาปัตยกรรมของไทยเคยได้รางวัลนี้เช่นเดียวกัน Architizer A+ Awards ครั้งที่ 5 ในนครนิวยอร์ก เชื่อว่าหลายท่านต้องรู้จัก The Commons เข้าชิงเกือบทุกสถาบันการออกแบบจริงๆ กับคอมมิวนิตี้มอลล์สำหรับคนรักอาหารซอยทองหล่อ 17 ชนะใจกรรมการไปในสาขา Commercial-Shopping Center จากการออกแบบพื้นที่มอลล์แบบแนวตั้ง open air ให้พื้นที่ต่างๆ เชื่อมถึงกันด้วยการไล่ระดับของชั้นต่างๆ โดยเฉพาะโซน The Ground ที่เต็มไปด้วยร้านอาหาร ต้นไม้ และร้านขายของคีออสเล็กๆ ไปจนถึงที่นั่งไล่ระดับที่อยู่ภายใต้ร่มของชั้น 3 และชั้น 4 ที่ทำหน้าที่กันแดดกันฝนให้นั่งกันได้ทั้งวัน ด้านหน้าสวยเด่นด้วยตะแกรงเหล็กบางๆ ที่ทำหน้าที่คล้ายม่านที่กลมกลืนไปกับสถาปัตยกรรมปูนเปลือยของที่นี่ ทำให้คว้าทั้งรางวัลชนะเลิศจากทั้งกรรมการและ Popular Vote และ Choui Fong Tea Cafe อีกหนึ่งงานออกแบบสวยบาดใจที่คว้ารางวัลชนะเลิศจาก Jury มาครองคือการออกแบบคาเฟ่แห่งใหม่ของไร่ชาฉุยฟงใน จ.เชียงราย ที่ตัดสินใจว่าจ้างสตูดิโอออกแบบสุดโปรดของเราให้ออกแบบพื้นที่บนเนินเขาที่มองเห็นวิว 360 องศาเหนือไร่ชาเขียวชอุ่ม หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม และ Architizer A+ Awards ครั้งที่ 9เรามาดูตัวอย่างอาคารที่ได้รางวัลในปีนี้กัน ว่าจะมีไอเดียอย่างไรในการออกแบบ

Jingdezhen Imperial Kiln Museum

โดยสตูดิโอ Zhu-Pei จากประเทศจีน ตัวพิพิธภัณฑ์ตั้งที่มณฑลเจียงซี ออกแบบเป็นรูปทรงโค้ง จากการใช้อิฐก่อ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของพื้นที่แถบนั้น เป็นอาคารที่เคารพต่อบริบทของโบราณสถานในพื้นที่ และการใช้อิฐยังทำให้อาคารดูอบอุ่น ช่วยเก็บความร้อนในสภาพที่อากาศเย็น และอิฐเหล่านี้ก็เป็นอิฐเก่ารีไซเคิลจากเมืองเก่าผสมกับอิฐใหม่ เป็นการบ่งบอกถึงการผสมผสานระหว่างของเก่าและของใหม่ การเคารพบริบทดั้งเดิมและก้าวไปสู่ความร่วมสมัยพร้อมกัน

.

Maggie’s Leeds Centre

ได้รางวัลในหมวดโรงพยาบาล สถานที่พักฟื้นผู้ป่วยแห่งนี้ ที่เมือง Leeds ออกแบบโดย Heatherwick Studio ที่ฉีกกฎอาคารสถานพยาบาลเหลี่ยมเรขาคณิตแบบดั้งเดิม เป้าหมายของสถาปนิกคือให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น จึงใช้วัสดุและสไตล์การออกแบบที่ดูนุ่มนวล อ่อนโยน เป็นมิตร ขณะเดียวกันก็รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ภายในตกแต่งด้วยไม้สีอ่อนที่มาจากป่าปลูกแบบยั่งยืน อาคารเน้นเส้นสายโค้งแบบออแกนิคและมีต้นไม้ตกแต่งภายในมากกว่า 17,000 ต้น สร้างความชุ่มชื้นและเยียวยาผู้ป่วยได้อย่างดี

OPUS

จากเมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อดังอย่าง Zaha Hadid Architects เป็นอีกอาคารที่ได้รางวัลในหมวดโรงแรม อาคารรูปทรงกล่องขนาดใหญ่ยักษ์หลังนี้ ได้รางวัลจากการออกแบบที่คอร์ทกลางตึกดูลื่นไหลราวกับเป็นของเหลว รู Free form ตรงกลางอาคารนี้มีขนาดเท่าตึกแปดชั้น เป็นความ balance ของรูปทรงออแกนิคเคลื่อนไหวตัดกับรูปทรงเรขาคณิต และระหว่างความทึบกับความโปร่งของอาคาร

Victorian Music box

โดย CCY Architects ที่รัฐโคโลราโด้ ประเทศอเมริกาก็เป็นตัวอย่างที่ดีว่าไม่ใช่ อาคารนี้เป็นการสร้างบ้านแรงบันดาลใจบ้านสมัยวิคตอเรียที่สร้างในปี 1880 รูปทรงจั่วเรียบง่ายแบบบ้านสมัยก่อนหุ้มด้วยฟาสาดเหล็กที่มีการเจาะช่องแสงอย่างน่าสนใจ โดยเลือกใช้จังหวะและโน๊ตเพลง Nocturne in E-Flat Major, Op 9, No 2 ของ Frédéric Chopin ซึ่งเป็นเพลงคลาสสิกมาใช้ในการมาเป็นแนวคิดในการเจาะช่องแสง

Presence in Hormuz 02

โดยสถาปนิกอย่าง ZAV Architects ซึ่งพื้นที่ที่โครงการ Hormuz 02 ตั้งอยู่คือท่าเรือโบราณและชุมชนเก่าทางตอนใต้ของอิหร่าน สถาปนิกต้องการออกแบบโครงการนี้ให้เป็นทั้งที่พักของคนในชุมชน และพื้นที่ต้อนรับนักท่องเที่ยว จุดเด่นโปรเจคนี้คือ อาคารรูปทรงกระโจมสีสันที่สดใส โดยเป็นความร่วมมือระหว่างคนท้องถิ่นและผู้ออกแบบร่วมกัน และใช้วัสดุและสีจากภายในท้องที่ เป็นการสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่น และอาคารสีสันนี้ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชนได้ดี เป็นโครงการที่ควรแก่ A+ Awards ด้านสีสันอย่างแท้จริง

World Architecture Awards ไอเดียการออกแบบสถาปัตยกรรมคว้ารางวัลระดับโลก เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับรางวัลอันทรงคุณค่า งานสถาปัตยกรรมที่เปลี่ยนโลก สวยงาม เต็มไปด้วยไอเดีย หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับหลายท่าน และแน่นอนว่า ไม่ว่าจะเป็นรางวัลจากสถาบันไหนสิ่งที่สะท้อนออกมาผ่านผลงานของสถาปนิกผู้ออกแบบคือ การเข้าใจแก่นแท้ของการวิถีชีวิตของมนุษย์ และการเข้าใจธรรมชาติ การอนุรักษ์ทรัพยากร ให้ความสำคัญของ ‘การเสริมสร้างชีวิตมนุษย์’ โดยให้ประโยชน์ต่อทั้งผู้อยู่อาศัยและสนับสนุนการพัฒนาของเมือง คือให้ประโยชน์แก่สังคม ใสร้างคุณค่าแก่โลกใบนี้ มีคุณค่าทางความรู้สึกส่งเสริม เยี่ยวยาจิตใจ เรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติ สถาปัตยกรรมล้วนสอดคล้องกับการใช้ชีวิต หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหลายท่านจะได้รับไอเดียใหม่ๆ ในการออกแบบ ก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่า และของให้สถาปัตยกรรมไทย โดยสถาปนิกชาวไทยได้คว้ารางวัลระดับโลกในปีต่อ ๆ ไปด้วยนะคะ

บทความที่น่าสนใจ :

Build a factory to reduce costs สร้างโรงงานเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน

BMPLC New Factory Project 10,000 sq.m.

EPOXY FLOOR vs PU FLOOR เคลือบพื้นแบบไหนทนทานเหมาะกับโรงงาน คลังสินค้าของคุณ

E-commerce Warehouse ก้าวเป็นผู้นำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ต้องมีคลังสินค้า โกดัง แบบไหน

Source :
https://www.kenzai.co.th/architect-talk ,
https://architizer.com/…/2021-aawards-winners…/, https://www.soimilk.com/city-living/news/thai-architecture-architizer-awards , https://th.wikipedia.org/wiki/รางวัลพริตซ์เกอร์ , https://www.pritzkerprize.com/laureates/anne-lacaton-and-jean-philippe-vassal
ภาพประกอบ : https://www.pritzkerprize.com/laureates/anne-lacaton-and-jean-philippe-vassal, https://www.kenzai.co.th/architect-talk ,
https://architizer.com/…/2021-aawards-winners…/