EPOXY FLOOR vs PU FLOOR เคลือบพื้นแบบไหนทนทานเหมาะกับโรงงาน คลังสินค้าของคุณ

คุณภาพของพื้นคลังสินค้าของคุณเป็นสิ่งจำเป็น พื้นคลังสินค้า โรงงาน ต้องทนต่อการรับน้ำหนักของเครื่องจักรกลที่หนักๆที่มีการการเคลื่อนไหวที่สูง และการเดินเท้าตลอดเวลาซึ่งอาจสร้างความเสียหายให้กับพื้นของคุณ ดังนั้น การเคลือบพื้น และการดูแลรักษาพื้นอย่างเหมาะสมสามารถช่วยหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในระยะยาว สร้างคลังสินค้า โรงงาน ไม่อยากเจอปัญหาเรื่องพื้น การเคลือบผิวพื้นนั้นสำคัญอย่างมาก ยังช่วยเรื่องความทนทาน ไม่สึกหรอของพื้น การป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ความสวยงาม การทำความสะอาดที่ง่าย โดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง มีกฎหมายควบคุม ต้องได้รับมาตรฐาน GMP HACCP แล้วจะเลือกการเคลือบพื้นแบบไหนจะเหมาะสมกับการใช้งาน ความหนาแค่ไหน เรารวมคำตอบมาให้คุณมาเจาะลึกการเคลือบพื้น EPOXY FLOOR vs PU FLOOR เคลือบพื้นแบบไหนทนทานเหมาะกับโรงงาน คลังสินค้าของคุณ

เคลือบพื้นโพลียูรีเทน PU (POLYURETHANE FLOOR SYSTEM)

พื้นโพลียูรีเทน หรือพื้นพียู :PU Polyurethane เป็นเคมีผสมคอนกรีตใช้เพื่อเคลือบพื้นผิวโรงงานผลิตอาหารหรือห้องเย็นต่างๆ ที่ถูกออกแบบมาเฉพาะ สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมอาหารที่ผิวคอนกรีตจะต้องได้รับการป้องกันจากสารเคมี อาทิเช่น กรดอนินทรีย์ กรดเกลือและด่างประเภทต่างๆ สามารถใช้งานได้ดี ในบริเวณที่มีน้ำไหลผ่านตลอดและอุณหภูมิ (-40 ถึง 120 องศา) พื้นโพลียูรีเทน :PU Polyurethan ถูกพัฒนาเพื่อปกป้องพื้นคอนกรีตทั้งที่เป็นพื้นใหม่และพื้นที่ใช้งานแล้วจากสภาพแวดล้อมจากการทำงานและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ซึ่งสภาพแวดล้อมจากการใช้งานจะเป็นวัตถุหลัก มีส่วนประกอบหลักเป็นตัวโพลียูรีเทคอนกรีตจึงเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ อีกทั้งยังสามารถทนแรงกระแทกได้ดี ป้องกันการเพาะเชื้อโรคและอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงตลอดจนห้องเย็นต่างๆได้อย่างดีเช่น ทนการกระแทก กรด-เบส สารเคมีและน้ำมัน พื้นโพลียูรีเทน หรือพื้นพียู :PU Polyurethane เหมาะสมกับการใช้งานอุตสาหกรรมหนัก, สนามกีฬาในร่มและกลางแจ้ง, สนามเด็กเล่น, กันซึมดาดฟ้า ใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร อายุการใช้งาน ประมาณ 8 ปี

ภาพประกอบ : https://www.epoxy-pu-thailand.com

ประเภทของพื้นโพลียูรีเทน PU (Polyurethane Floor) แบ่งตามลักษณะการใช้งาน
สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน คือ

  1. Polyurethane Heavy Duty Floor (PU-HF) PU-HF เป็นพื้น ชนิดแข็งแรงทนทานพิเศษ ผิวหน้าเป็นแบบหยาบ สามารถทนอุณหภูมิ – 40°C ถึง 140°C เหมาะกับบริเวณพื้นที่เปียกชื้น เช่น พื้นห้องครัว เป็นต้น เคลือบพื้น ด้วยการปาดด้วยช่าง สามารถทำความหนา 0 – 10.0 mm. ระบบออกแบบไว้สำหรับการรับ Forklift Loading มากกว่า 5 ตัน พื้นสามารถปรับระดับคอนกรีตให้เรียบ แบบไม่มีรอยต่อ ระบบเหมาะสำหรับการใช้งานพื้นที่มีความชื้นสูงหรือเปียก พื้น PU-HFสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียได้ดี จึงนิยมใช้สำหรับพื้นในงานอุตสาหกรรมอาหาร การเกษตร และเครื่องสำอาง พื้นประเภทนี้รองรับมาตรฐาน GMP, HACCP, FDA
  2. Polyurethane Medium Duty Floor (PU-MF) พื้น PU-MF เป็นพื้นชนิดแข็งแรงปานกลาง ผิวเป็นแบบเรียบ นิยมใช้กับบริเวณที่มีอุณหภูมิอุณหภูมิไม่เกิน 100°C และอุณหภูมิติดลบไม่เกิน -20°C เหมาะกับบริเวณพื้นที่แห้งไม่สัมผัสน้ำ สามารถทำความหนาได้ 0 – 4.0 mm. ระบบออกแบบไว้สำหรับการรับ Forklift Loading 3 – 4 ตัน พื้นสามารถปรับระดับคอนกรีตให้เรียบ ไม่มีรอยต่อ ระบบเหมาะสำหรับการใช้งานพื้นที่มีความชื้นสูงหรือเปียก พื้น PU-MF สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียได้ดี จึงนิยมใช้สำหรับพื้นในงานอุตสาหกรรมอาหาร การเกษตร และเครื่องสำอาง พื้นประเภทนี้รองรับมาตรฐาน GMP, HACCP, FDA
  3. Polyurethane Self-Leveling (PU-LF) พื้นพียูแบบบางเป็นพื้น PU ที่มีความหนา 5-2 มิลลิเมตร ถึงแม้จะความหนาต่ำแต่ยังคงรักษาคุณสมบัติทางเคมี เช่นทนทานต่อ กรด-ด่าง สารเคมี ตัวทำละลาย ทินเนอร์และความชื้นได้ดี สามารถปรับระดับคอนกรีตให้เรียบ ไม่มีรอยต่อ ระบบเหมาะสำหรับการ ใช้งานพื้นที่มีความชื้นสูงหรือเปียก พื้น PU-LF สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียได้ดี จึงนิยมใช้สำหรับพื้นในงานอุตสาหกรรมอาหาร การเกษตร และเครื่องสำอาง พื้นโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยา ห้อง Clean Roomและห้องทดลอง พื้นเหมาะกับการรับโหลดต่ำ เช่นใช้งานรถแฮนด์ลิฟท์ หรือเดินเท่านั้น พื้นประเภทนี้รองรับมาตรฐาน GMP, HACCP, FDA ที่สำคัญคือมีราคาถูกที่สุดเมื่อเทียบกับพื้นพียูประเภทเดียวกัน

คุณสมบัติของพื้นโพลียูรีเทน PU (Polyurethane Floor)

  • ทนทานต่อแรงกระแทก มีความยืดหยุ่นสูง ทนทานต่อการใช้งานรถโฟล์คลิฟ
  • มีความสวยและสามารถทำความสะอาดได้ง่าย หลากหลายสีสัน
  • สามารถติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร
  • มีความยึดเกาะกับพื้นผิวคอนกรีตทั้งใหม่และเก่าได้ดีมาก
  • สามารถป้องกันการเกิดเชื้อราและไม่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค
  • ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ (Thermal Shock)มีช่วงการใช้งานอุณหภูมิกว้าง จาก -40 ไปจนถึง 112 องศาเซลเซียส
  • ป้องกันการเกิดเชื้อราและแบคทีเรีย ทนทานต่อสารเคมี (Chemical Resistance) รองรับมาตราฐาน GMP, HACCP
  • พื้นไร้รอยต่อ ไม่มีรูพรุน และสะดวกในการลื่นไถลได้อย่างดี (ในสภาพพื้นผิวแห้งและเปียก)
  • ป้องกันไฟฟ้าสถิตได้ดี จำเป็นมากในโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
  • ทนต่อแสงแดดและรังสี UV มากกว่าพื้น Epoxy

ระบบการเคลือบพื้นอีพ็อกซี่ Epoxy Floor System

 การเคลือบพื้น Epoxy คือ การเคลือบพื้นด้วยสีอีพ็อกซี่ซึ่งเป็นสารยางสังเคราะห์ที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่าง Epoxy กับ Polyamine โดยนำมาผสมกันทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้เกิดการเชื่อมเป็นร่างแหและเป็นผืนเดียวกัน นิยมนำมาเคลือบพื้นที่ต้องการเน้นเรื่องความสะอาดและไร้รอยต่อ นอกจากนี้พื้นอีพ็อกซี่ ยังมีข้อดีด้านความทนทานต่อ กรด-ด่าง สารเคมี และน้ำมันได้ดี มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นมากสามารถป้องกันการสึกหรอของพื้นโรงงานและคลังสินค้าได้อย่างดี มีความมันเงาและสีสันที่หลากหลาย พร้อมให้บรรยากาศที่ดูสะอาดและปลอดภัย ด้วยเหตุนี้การเคลือบพื้นด้วยEpoxy จึงเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมในการทำเป็นพื้นโรงงานมาตรฐานสูง นอกจากนี้ Epoxy มีความโดดเด่นกว่าสีเคลือบพื้นธรรมดาด้านความทนทานต่อการใช้งานและการยึดเกาะกับพื้นคอนกรีตได้ดี

ภาพประกอบ : www.kpi-advance.co.th
  1. ระบบการเคลือบพื้นอีพ็อกซี่ (Epoxy Coatings) พื้นอีพ็อกซี่ ( Epoxy Coatings ) คือ ระบบการทาเคลือบพื้นคอนกรีต ด้วยการกลิ้ง ใช้งานได้ทั้งพื้นและฝาผนัง สามารถป้องกันคอนกรีตจากสารเคมี น้ำมันและกรดเบสได้ดีเยี่ยม พื้นอีพ็อกซี่ (Epoxy Coatings) มีสีสันสดใส เงางาม ทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษาและทำความสะอาด ระบบการพื้นอีพ็อกซี่ (Epoxy Coatings) สามารถทำความหนาของฟิล์มได้จาก 300 – 1,500 microns ตามความต้องการ ระบบสีพื้นนี้ประกอบด้วย 3 ชั้น คือ ชั้น Primer Moisture Barrier, ชั้น Under Coat (Epoxy Coatings) และชั้น Top Coat (Epoxy Coating) มีสีให้เลือกหลากหลายสี มีความเงางาม การยึดเกาะกับพื้นคอนกรีตได้ดี สามารถป้องกันและกำจัดการเกิดเชื้อรา และไม่ก่อให้เกิดฝุ่น พื้นที่แบบไหนที่เหมาะกับ งานพื้นอีพ็อกซี่ (Epoxy Coatings) อาทิเช่น พื้นโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป, พื้นโรงงานเครื่องสำอาง, พื้นโรงงานที่ต้องปราศจากฝุ่นและเชื้อโรค, พื้นโรงงานปิโตรเคมี, พื้นคลังสินค้า โกดังสินค้า, ลานเอนกประสงค์, พื้นทีที่จำกัดเรื่องงบประมาณ, สีพื้นสำหรับงานตีเส้นจราจรและเส้นต่างๆ, ผนังและกำแพง
  2. พื้นอีพ็อกซี่ Self-Leveling (Epoxy Self-Leveling) คือระบบการเคลือบสีด้วยการปาด ด้วยช่างผู้เชี่ยวชาญ ฟิล์มสีสามารถปรับผิวเรียบได้ด้วยตัวเองทำให้ผิวเรียบเงา สวยงาม ไม่มีรอยต่อ พื้นอีพ็อกซี่ Self-Leveling ใช้เคลือบผิวคอนกรีตเก่าและใหม่ เหมาะสำหรับพื้นโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปและพื้นโรงงานอุตสาหกรรมหนัก ระบบการเคลือบพื้นอีพ็อกซี่ Self-Levelingสามารถทำความหนาของฟิล์มได้จาก 2 – 10 มิลลิเมตรขึ้นกับความต้องการของเจ้าของโครงการ และความจำเป็นในการใช้งาน สำหรับการใช้งานพื้นสำหรับงานทั่วไป ใช้ระบบการเคลือบที่ 1 ส่วนการใช้งานพื้นที่ต้องการรับน้ำหนัก ( Forklift Loading ) ให้เลือกใช้ระบบการเคลือบที่ 2 มีสีให้เลือกหลากหลาย พื้นมีความมันเงางาม ไม่มีรอยต่อ/ไม่ลื่น สามารถป้องกันและกำจัดการเกิดเชื้อรา มีความหนาตั้งแต่ 2 มิลลิเมตรขึ้นไป ทนทานต่อน้ำหนักที่โหลด (Forklift loading; 2- 5 tons) ทนทานต่อกรด และเบสและสารละลาย ทนทานต่อน้ำมัน มีความยืดหยุ่นสูงและยังมีอายุการใช้งานนาน พื้นที่แบบไหนที่เหมาะกับใช้งานพื้นอีพ็อกซี่ Self-Leveling อาทิเช่น พื้นโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์/ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, พื้นอุตสาหกรรมอาหาร/เครื่องสำอาง, พื้นโรงงานอุตสาหกรรมเคมีและบรรจุภัณฑ์, ห้องทดลอง ห้อง Lab (Workshop), คลังสินค้าโกดังสินค้า ห้างสรรพสินค้า ลานอเนกประสงค์, โชว์รูมรถยนต์ อาคารจอดรถ และพื้นโรงงานที่ต้องปราศจากฝุ่นและเชื้อโรค
  3. พื้นอีพ็อกซี่ Epoxy Heavy-Duty (Epoxy Mortar) พื้นอีพ็อกซี่ Heavy-Duty เป็นการเคลือบสีด้วย สี Epoxy Self-Leveling ที่มีความหนา 5 มิลลิเมตรขึ้นไป ระบบออกแบบสำหรับพื้นโรงงานอุตสาหกรรมหนัก สำหรับการปกป้องพื้นผิวคอนกรีตขั้นสูงสุด สามารถทนทานต่อตัวทำละลาย กรด-เบส สารเคมีและน้ำมันได้ดีเยี่ยม สามารถใช้ได้ในช่วงอุณหภูมิ -40 ถึง 70 องศาเซลเซียส เป็นพื้นที่มีความสวยงาม เงางามและคงทน ไม่มีรอยต่อของพื้น ทนทานต่อแรงกระแทก มีความยืดหยุ่นสูง ป้องกันการแตกร้าวของพื้นผิว ทนทานต่อไอของกรดและเบสได้ดีเยี่ยม ทนทานต่อสารละลายได้ดี และทนทานต่อสารเคมีและน้ำมันได้ดี พื้นที่แบบไหนที่เหมาะกับใช้งานพื้นอีพ็อกซี่ Heavy-Duty อาทิเช่น พื้นโรงงานอุตสาหกรรมหนัก, พื้นโรงงานผลิตสารเคมี, พื้นโรงงานผลิต ปิโตรเคมี, พื้นที่ที่ใช้งานหลักพื้นที่สำหรับรถโฟล์คลิฟท์ น้ำหนักมากกว่า 5 tons., ลานโหลดของ
  4. พื้นกันลื่น Epoxy Non-Slip / Safety Floors พื้นกันลื่น (Non-Slip Flooring) หรือเรียกอีกชื่อว่า “Safety Floors” คือการเคลือบพื้นอีพ็อกซี่ เพื่อป้องกันการลื่นไถล (Non-Slip) เหมาะกับพื้นทางเดิน ภายในสวนที่มีน้ำขังและคราบน้ำมัน มีสีให้เลือกหลากหลาย พื้นมีความมันเงางาม ป้องกันการลื่นไหลได้ดีเยี่ยมสมชื่อ มีความปลอดภัยในการใช้งาน ทนต่อการขีดข่วนได้ดี พื้นที่แบบไหนที่เหมาะกับใช้งาน พื้นกันลื่น (Non-Slip Floors) อาทิเช่น ทางเดินภายในอาคาร, พื้นบันไดทางขึ้นลง, โรงงานที่มีปัญหาเรื่องทางลื่น, พื้นที่มีน้ำตลอดเวลา, พื้นที่มีคราบน้ำมันตลอดเวลา และพื้นห้างสรรพสินค้า
  5. Epoxy Glitter floor พื้น Epoxy Glitter floor เป็นพื้นพิเศษ มีส่วนผสมระหว่าง สี Epoxy กับเกร็ด ผง Glitter เพื่อมาใช้เป็นการตกแต่งพื้นเพื่อความสวยงามและมีความคงทน เป็นพื้นอีพ็อกซี่ที่ไม่มีรอยต่อ ผลิตภัณฑ์มีการผสมผสานกันของสีและจานสีหลากหลายไม่ซ้ำกัน มีลักษณะเป็นแบบสุ่ม แต่มีขนาดภายในช่วงที่ได้มารตรฐาน
    ลักษณะพิเศษของพื้น Glitter เป็นการออกแบบพื้นที่มีมิติ สร้างพื้นผิวที่มีชีวิตชีวาให้กับคอนกรีตสีเทาธรรมดา แม้ว่าระบบจะเรียบง่ายทั้งในด้านส่วนประกอบและการติดตั้ง แต่จะให้พื้นที่คงทนและทนทานเป็นพิเศษ ไม่มีรอยต่อและยืดหยุ่นสูง ระบบสีอีพ็อกซี่จะช่วยเพิ่มความต้านทานการลื่นของพื้นผิว ให้โครงสร้างและความแข็งแรงของระบบ สามารถใช้งานได้อย่าหลากหลายทั้งพื้นห้างสรรพสินค้า โรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า โชว์รูมรถยนต์ ที่จอดรถยนต์, ลานสระว่ายน้ำและลานนั่งเล่น, บ้าน อาคาร ออฟฟิศ สำนักงาน เป็นต้น

การเคลือบพื้น Epoxy และ Pu ต่างกันอย่างไร

พื้นพียู (พื้น PU : Polyurethane Floor System) คือ เป็นวัสดุเคลือบพื้นที่ออกแบบมาสำหรับปกป้องผิวคอนกรีตจากการทำลายของน้ำ ความชื้น กรด-ด่างและสารเคมี ด้วยคุณสมบัติที่แข็งเหมือนคอนกรีตและทนทาน พื้น PU มีคุณสมบัติพิเศษที่พื้น EPOXY ไม่มีคือ การยอมให้ความชื้นไหลผ่านตัวฟิล์มสี นั้นคือเป็นข้อเด่นของพื้นพียูเพราะมันจะไม่มีการบวม พื้นพียู (พื้น PU) มีลักษณะที่ผิวด้าน และทนอุณหภูมิร้อน เย็น ที่เปลี่ยนแปลงได้ดีกว่าพื้นอีพ็อกชี่ (พื้น EPOXY) สามารถดูแลเรื่องการทำความสะอาดง่าย เช่น โรงน้ำแข็ง โรงงาน อุตสาหกรรมต่างๆ ทางเท้าฟุตบาท เป็นต้น จะมีคุณลักษณะการแสดงออกต่อสารเคมีที่แตกต่างกัน เช่น พื้นพียู (พื้น PU ) เป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมอาหาร ที่มักมีกรดแลกติกอยู่ในสิ่งแวดล้อม นี่จึงเป็นเหตุที่อุตสาหกรรมอาหาร ที่ทำงานเกี่ยวกับนม ผลิตภัณฑ์จากนม และชีส จึงเลือกใช้พื้นพียู (พื้น PU) ในขณะที่พื้นอีพ็อกซี่ (พื้น EPOXY) หากอยู่ในสภาวะแวดล้อมดังกล่าวจะถูกกัดกร่อนและซีดเหลือง พื้นอีพ็อกซี่ (พื้น EPOXY) เหมาะสำหรับการสร้างความหนาให้กับพื้น จากนั้นจึงทาตามด้วยการเคลือบโพลียูรีเทนเพื่อการเคลือบที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และเพื่อปกป้องพื้นผิว มันจะช่วยปกป้องพื้นอีพ็อกซี่ (พื้น EPOXY) จากการดเหลือง และจะช่วยให้พื้นผิวทนต่อการสึกหรอและรอยขีดข่วนได้นาน

บทความที่เกี่ยวข้อง :
Aluminum Composite เลือกใช้อลูมิเนียม คอมโพสิต สร้างอาคาร คลังสินค้า โกดัง คุ้มค่าคงทนหรือไม่

Feng Shui ต้องรู้ฮวงจุ้ยอาคาร คลังสินค้า โกดัง ให้ธุรกิจรุ่งเรือง เงินไหลมาเทมา

EPOXY FLOOR vs PU FLOOR เคลือบพื้นแบบไหนทนทานเหมาะกับโรงงาน คลังสินค้าของคุณ เคลือบพื้นแบบไหนทนทานเหมาะกับโรงงาน คลังสินค้าของคุณ การสร้างโรงงาน คลังสินค้า โกดัง เรื่องของพื้น การเคลือบพื้น เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ทำให้พื้นมีความแข็งแรงคงทน ปกป้องพื้นโรงงานและคลังสินค้าจากสารเคมีและคราบน้ำมันได้อย่างดี ไม่ทำให้เกิดฝุ่น อีกทั้งยังทำความสะอาดง่ายช่วยทำให้โรงงานอุตสาหกรรมดูสะอาดถูกสุขลักษณะ  และยังช่วยยืดอายุการใช้งานของพื้นโรงงานและคลังสินค้า ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมดูแลรักษาพื้น ถือว่าเป็นการลงทุนระยะยาว การเลือกใช้ไม่ว่าจะเป็นพื้นแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งานฉะนั้นต้องศึกษา พิจารณารายละเอียด ปรึกษาวิศวกร สถาปนิกผู้ออกแบบ ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และเป็นไปตามหลักกฎหมาย หากประกอบการเกี่ยวกับ อาหาร เครื่องสำอางนั้นเอง และที่สำคัญปัจจัยของงบประมาณในการก่อสร้างก็สำคัญไม่แพ้กัน

Source : pu-floor : https://www.kpi-advance.co.th/service_detail.php?service_id=63 , www.wongguru.com/