การออกแบบโกดังหรือคลังสินค้า เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากมีผลระยะยาวต่อการเก็บสินค้า โดยผู้ผลิตส่วนใหญ่อาจให้ความสำคัญในเรื่องต้นทุนในการสร้างมากเกินไป จนเป็นเหตุให้โครงสร้างของทั้งการออกแบบและก่อสร้าง ไม่มีประสิทธิภาพ

10 เทคนิควางแผนก่อนสร้างโกดัง คลังสินค้า

  1. การเลือกทำเล การเลือกทำเลที่ตั้งของโกดัง ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่จะคำนึงถึงถึงความเหมาะสมเพื่อประโยชน์ของธุรกิจ อันจะก่อให้เกิดยอดขาย และกำไร โดยมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ ดังนั้น ผู้ผลิตหรือออกแบบโกดังควรยึดหลักสำคัญในการกลยุทธ์การเลือกทำเลที่ตั้ง 3 อย่าง คือ
    • การเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าใกล้แหล่งผลิตและตลาด โดยจะต้องให้สอดคล้องกัน ซึ่งหากทำได้จะเป็นวิธีการในการลดต้นทุนได้ทั้งต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนในการบริการลูกค้า
    • การเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าใกล้ตลาด ทำเลใกล้ตลาดอาจะเป็นผลดีต่อการให้บริการ แต่ทั้งนี้เนื่องจากการตั้งคลังสินค้าใกล้ตลาดจะต้องใช้ต้นทุนคงที่ด้านที่ดิน อาคารและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่อาจมีต้นทุนสูงมาก
    • การเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าใกล้แหล่งผลิต คลังสินค้าวัตถุดิบจะมีความสำคัญมากในกระบวนการเริ่มต้นของการผลิตการเลือกทำเลที่ตั้งในลักษณะนี้จะต้องอยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบให้มากที่สุดทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการวัตถุดิบมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
  1. ฉนวนกันความร้อน ควรติดตั้งวัสดุกันความร้อน เพื่อรักษาอุณหภูมิของโกดังให้คงที่ เพราะอากาศภายในโกดังมีผลต่อสินค้าในโกดัง ถ้าอุณหภูมิไม่เหมาะสมสินค้าอาจเกิดความเสียหายได้

เพราะความร้อนในสะสมช่วงกลางวัน จะส่งผ่านเข้าสู่โครงสร้าง ดังนั้นตอนมุงหลังคาจึงควรใส่ฉนวนกันร้อนไปพร้อมกันเลย ในท้องตลาดมีให้เลือกหลากหลาย การตัดสินใจเลือกนั้น แนะนำให้ดูค่า 2 ตัวที่สำคัญ คือ ค่า K คือค่าการนำพาความร้อน (Conductivity) และ ค่า R คือค่าการต้านทานความร้อน (Resistivity) ซึ่งฉนวนกันความร้อนที่ดีควรมีค่า K น้อย และ ค่า R มาก เพื่อประสิทธิภาพการกันความร้อนที่สูงสุด ที่สำคัญอย่าลืมเปรียบเทียบฉนวนในหน่วยเดียวกันเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการเปรียบเทียบวัสดุฉนวนแต่ละชนิด

วิธีเลือกฉนวนกันความร้อน

อ้างอิง: www.scgbuildingmaterials.com

  1. การเลือกผู้เชี่ยวชาญ จ้างผู้เชี่ยวชาญรายเดียวในการออกแบบ ก่อสร้าง และงานระบบทั้งหมด เพื่อให้คลังสินค้ามีโครงสร้างการใช้งานที่สอดคล้องกัน

งานระบบ M&E คืออะไร

งานระบบ M&E

งานระบบ (บางครั้งเรียกว่างาน M&E = mechanical and electrical engineering) งานระบบในการก่อสร้างนั้นหมายถึงกลุ่มงาน ระบบสุขาภิบาล, ระบบไฟฟ้า, ระบบไฟฟ้าสื่อสาร, ระบบดับเพลิง, ระบบปรับอากาศ ซึ่งระบบเหล่านี้เป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกโครงการก่อสร้างโรงงาน จำเป็นต้องมี

ศึกษาข้อมูล งานระบบ M&E เพิ่มเติม:www.chopanich.com

  1. การจัดวางอุปกรณ์ โดยคำนึงถึงความยืดหยุ่น หากในอนาคตมีการปรับเปลี่ยนหรือขยายสินค้า
สร้างคลังสินค้าเกษตร 3,000 ตร.ม. – บริษัทตรีเพ็ชร ครอปซายน์ จำกัด จันทบุรี
  1. ความสะดวกในการทำความสะอาดและซ่อมบำรุง อ้างอิง พรบ. ควบคุมอาคาร 2522 มีขอบข่ายการดำเนินงานดังนี้
  • การตรวจสอบใหญ่ – เป็นการตรวจสอบโครงสร้างอาคารและระบบทุกระบบ โดยให้กระทำทุก 5 ปี
  • การตรวจสอบประจำปี – เป็นการตรวจสอบตามแผนการตรวจอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประจำปีที่ผู้ตรวจสอบได้จัดทำไว้ในการตรวจสอบใหญ่

ประเภทของอาคารที่ต้องตรวจสอบ

  • อาคารสูง – อาคารที่บุคคลเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป
  • อาคารขนาดใหญ่พิเศษ – มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป
  • อาคารชุมนุมคน – เพื่อประโยชน์ ในการชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป
  • โรงมหรสพ – มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดให้สาธารณะชนเข้าชมการแสดงนั้นเป็นปกติธุระกิจ โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
  • โรงแรม – มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป
  • อาคารชุด – ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป
  • อาคารโรงงาน – ที่สูงกว่า 1 ชั้น และมีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป
  • ป้าย – สูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดตั้งหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไ
  • สถานบริการ – สถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม: www.aes-service.com

  1. ระบบกล้องวงจรปิด ติดตั้งกล้องวงจรปิดที่ได้มาตรฐาน เพราะผู้จัดการคลังสินค้าสามารถสังเกตการณ์ทำงานผ่านกล้องและเมื่อเกิดปัญหา ก็สามารถช่วยแก้ไขได้ทันที
  1. พื้นของโกดัง การลงทุนสำหรับงานพื้นของโกดัง ควรให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะจะช่วยลดอุบัติเหตุจากการทำงานได้ พื้นที่ดีต้องสามารถรับกำลังความแข็งแรงได้ตามความต้องการของผู้ใช้ และทนต่อสภาพดิน ฟ้า อากาศ หรือสภาวะแวดล้อมได้ตามอายุการใช้งาน โดยสามารถคงรูปร่าง คุณภาพ คุณสมบัติ และสภาพผิวหน้าการใช้งานได้ดีเช่นเดิม ความคงทนของผิวหน้าพื้นคอนกรีต
  1. การวางแผนเรื่องการจัดการ ควรมีการวางแผนการจัดการที่เหมาะสม ผู้ให้บริการควรใส่ใจกับรายละเอียดทุกขั้นตอนของกระบวนการ เพื่อลดการเกิดปัญหาในอนาคต

ขอบข่ายการบริหารสินค้าคงคลัง

  • ระยะเวลา สินค้าที่สั่งมาจะมีความสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้รวดเร็วเพียงใด
  • ต้นทุน จะต้องใช้เงินเท่าไรที่จะซื้อสินค้ามาเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น
    • ต้นทุนที่ใช้ซื้อสินค้าเพื่อขาย (Costs of Acquiring)
    • ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา (Costs of Holding)
  • การบริการ สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น

การบริหารคลังสินค้าและสินค้าคงคลังด้วยหลักการ ABC Analysis (Always Better Control)

ส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการจัดวางสินค้า ช่วยลดต้นทุนการขนถ่ายสินค้าด้านแรงงานและเวลาที่ใช้ มีหลักการดังนี้

  • สินค้าที่ขายดี – ไม่ดี จะมีตำแหน่งการวางต่างกัน
  • สินค้าที่ขายดี อยู่ใกล้ประตูเข้าออก เพื่อสะดวกในการขนถ่าย
  • สินค้าที่ขายไม่ดี จะเก็บด้านใน เพราะไม่ค่อยมีการขนถ่ายสินค้า
  • สินค้าที่มีขนาดใหญ่ ขนถ่ายลำบาก จะเก็บใกล้ประตู

วิธีลดต้นทุนการขนส่ง

การขนส่งแต่ละรูปแบบมีลักษณะที่แตกต่างกัน ลักษณะเด่นและด้อย จะมีอยู่ในทุกรูปแบบการขนส่ง ดังนั้น การขนส่งแต่ละรูปแบบจึงพยายามที่จะพัฒนาตัวเองให้เจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ เพื่อให้การขนส่งมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กล่าวคือ

ตัวอย่างการจัดสรรพื้นที่เก็บสินค้า

Fixed Storage

  • สถานที่จัดเก็บถูกกำหนดชัดเจน
  • ขนาดของที่จัดเก็บจะต้องเพียงพอเพื่อรองรับปริมาณสินค้าคงคลังของสินค้านั้นๆ
  • ต้นทุนการเคลื่อนย้ายสินค้าต่ำ
  • ต้นทุนของสถานที่จัดเก็บสูง

Randomized Storage

  • สามารถจัดเก็บได้ทุกที่
  • ที่จัดเก็บสินค้าทั้งหมดต้องเพียงพอในการรองรับปริมาณสินค้าทุกรายการ
  • ต้นทุนของสถานที่จัดเก็บต่ำ
  • ต้นทุนการเคลื่อนย้ายสินค้าสูง

Class-based Storage

  • สามารถจัดเก็บได้ทุกที่ภายในโซนที่กำหนด
  • ที่จัดเก็บสินค้าในแต่ละโซนต้องเพียงพอเพื่อรองรับปริมาณสินค้าในโซนนั้นๆ
  • ต้นทุนของสถานที่จัดเก็บและการเคลื่อนย้ายสินค้าปานกลาง

อ้างอิงจาก www.mmthailand.com

  1. มองคลังสินค้าแบบสามมิติ เพราะจะช่วยให้การออกแบบและการใช้สอยของพื้นที่โกดังมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  1. ระบบลีนโลจิสติกส์ (Lean Thanking) สามารถนำแนวคิดแบบลีนโลจิสติกส์มาใช้ นอกจกจะช่วยประหยัดเวลาในการทำงานแล้ว ยังลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกได้ด้วย

ลีนโลจิสติกส์เป็นการนำแนวคิดแบบลีนซึ่งได้รับการคิดค้นและนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการผลิต เนื่องจากผู้ผลิตต้องการผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดและผู้ใช้งานให้ทันท่วงที โดยทำให้ต้นทุน และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทมีประสิทธิภาพทางการแข่งขันกับคู่แข่งได้มากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ลีนโลจิสติกส์ ยังครอบคลุมถึงการจัดการพื้นที่คลังสินค้าเพื่อให้ใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ให้เหลือพื้นที่ว่างที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ภายในคลังสินค้า จึงสรุปได้ว่า ลีนโลจิสติกส์ คือการปรับการทำงานเพื่อลดการสูญเสียให้ได้มากที่สุด โดยเพิ่มคุณค่าและประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ คุณนิตยา มีความเห็นว่า “ลีนโลจิสติกส์คือ วัฒนธรรมของการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง (continuous improvement) เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดีกว่าเดิม”

อ้างอิงจาก:http://thai.logistics-manager.com/

Key Takeaway

การสร้างโรงงาน โกดัง หรือคลังสินค้า เป็นการลงทุนครั้งสำคัญของธุรกิจ การวางแผนก่อนที่จะมีการก่อสร้างเกิดขึ้นจริง ครอบคลุมความเสี่ยงต่าง ๆ ได้นั้น จะช่วยสนับสนุนบริหารจัดการต้นทุนดำเนินกิจการได้หลายด้าน โดยเฉพาะต้นทุนที่จะเกิดจากค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ เช่น หากเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานไม่เหมาะสมตั้งแต่แรก แม้จะนำระบบโลจิสติกส์มาใช้ ก็เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น ศึกษาเพิ่มเติม  การเลือกที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้า – 4 ปัจจัยสำคัญช่วยตัดสินใจ

10 เทคนิคการก่อสร้างโกดังให้มีประสิทธิภาพ

  1. การเลือกทำเล
  2. วัสดุกันความร้อน
  3. การเลือกผู้เชี่ยวชาญ
  4. การจัดวางอุปกรณ์
  5. ความสะดวกในการบำรุงรักษา ซ่อมแซมระบบ
  6. ระบบกล้องวงจรปิด
  7. พื้นของโกดัง
  8. การวางแผนที่ดี
  9. มองคลังสินค้าแบบสามมิติ
  10. ระบบโลจิสติกส์

อ้างอิงจาก : thai.logistics-manager.com/ , www.thaifranchisecenter.com/