Temporary Hospital (CURA) ห้องผู้ป่วยหนักสุดล้ำ โรงพยาบาลชั่วคราวระดับโลก

การระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ผู้คนติดเชื้อ และป่วยเป็นจำนวนมาก ต้องมีการกักตัว และเข้ารับการรักษาเป็นเวลานานในห้อง ICU หรือห้องที่มีความดันลบ ทำให้โรงพยาบาล หรือหน่วยงานทางการแพทย์ขาดแคลนทรัพยากรอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร อุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือ เตียง และห้องพักสำหรับผู้ป่วย เกิดโครงการโรงพยาบาลสนามมากมายที่ได้รับความร่วมมือระหว่างสถาปนิก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือการขาดแคลนเตียง หรือห้องพักสำหรับผู้ป่วย และเพื่อช่วยให้ผู้ที่คนใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยต่อสู้กับการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ความคิดริเริ่มใหม่ คือ การเปลี่ยนคอนเทนเนอร์ สำหรับการขนส่งให้เป็นพ็อดสำหรับผู้ป่วย โครงการ CURA  เมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดขึ้นวงการสถาปนิก และก่อสร้างถือเป็นส่วนช่วยสำคัญในการช่วยเหลือ และควบคุมการระบาด ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบโรงพยาบาลสนามที่สามารถสร้างได้อย่างรวดเร็ว หรือการออกแบบเพื่อให้ทุกคนใช้ชีวิตได้ง่าย และปลอดภัยมากขึ้น  Temporary Hospital (CURA) ห้องผู้ป่วยหนักสุดล้ำ โรงพยาบาลชั่วคราวระดับโลก

โครงการ CURA ซึ่งย่อมาจาก Connected Unit for Respiratory Ailments ที่แปลว่า ยูนิตที่สามารถเชื่อมต่อกันได้เพื่อรักษาโรคทางเดินหายใจ  CURA เป็นห้องผู้ป่วยหนักขนาดกะทัดรัดสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อทางเดินหายใจ โดยมีขนาด 20 ฟุต (ประมาณ 6 เมตร) แต่ละยูนิตทำงานแยกกันแบบอิสระ และสามารถจัดส่งได้ทุกที่ แต่ละพ็อดเชื่อมต่อกันด้วยรูปแบบโมดูลาร์ (ตั้งแต่ 4 เตียงไปจนถึงมากกว่า 40 เตียง) ซึ่งสามารถนำไปติดตั้งได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง สามารถวางไว้ใกล้กับโรงพยาบาล (เช่น ในลานจอดรถ) เพื่อขยายความจุของห้องไอซียู หรือใช้เพื่อสร้างโรงพยาบาลภาคสนาม โดยโครงการ CURA เป็นผลงานแบบ Open Source ที่เปิดให้ผู้อื่นสามารถนำผลงานนี้ไปปรับปรุง และพัฒนาได้อีกด้วย

Carlo Ratti ผู้คิดค้นและออกแบบ Temporary Hospital (CURA) โรงพยาบาลชั่วคราวในรูปแบบ Connected Unit เพื่อรักษาโรคทางเดินหายใจ หนึ่งใน 50 นักออกแบบที่ทรงอิทธิพลที่สุดในอเมริกา โดย Fast Company เกิดเมื่อปี พ.ศ.2514 สถาปนิกชาวอิตาลี เขายังเป็น วิศวกร นักประดิษฐ์ นักการศึกษา และนักกิจกรรมอีกด้วย ในปัจจุบัน Carlo Ratti ศาสตราจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ซึ่งเขาดูแล MIT Senseable City Lab เป็นกลุ่มวิจัยที่สำรวจว่าเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อออกแบบ และพัฒนาคุณภาพชีวิต

ภาพประกอบจาก  www.archdaily.com/

โดยคณะทำงานระดับนานาชาติของนักออกแบบ Carlo Ratti  วิศวกร แพทย์ และผู้เชี่ยวชาญทางทหาร ได้ร่วมมือกันทำงานใน CURA ซึ่งเป็นโครงการ Open Source ที่มุ่งสร้างหน่วยผู้ป่วยหนัก (ICU) โครงการนี้ใช้คอนเทนเนอร์ขนส่งที่นำกลับมาใช้ใหม่เพื่อสร้างโรงพยาบาลชั่วคราว ซึ่งสามารถนำไปสร้างได้อย่างรวดเร็วในเมืองต่างๆ ทั่วโลก เพื่อตอบสนองต่อการขาดแคลนพื้นที่ห้องไอซียูในโรงพยาบาล โดย CURA ถูกสร้างขึ้นในเมืองมิลานของอิตาลี เริ่มรับผู้ป่วยครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2020 และ CURA มีความปลอดภัยเทียบเท่ากับหอผู้ป่วยแยกปกติในโรงพยาบาล ปัจจุบันถูกนำไปใช้ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไปจนถึงแคนาดาเนื่องจากมีความปลอดภัย และติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว

หยุดเชื้อโควิดแพร่คนในบ้าน ต้องปลอดภัยระดับไหน

การไม่ออกไปนอกบ้านเลยอาจจะเป็นเรื่องยาก แต่จะออกไปแล้วมั่นใจได้อย่างไรว่าไม่เอาเชื้อโรคกลับเข้าบ้าน มาการป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสโควิดเข้าสู่บ้านที่พักอาศัยทุกประเภทให้ได้มากที่สุด เพื่อให้บ้านหรือที่พักเป็นพื้นที่ปลอดภัย ปลอดเชื้อ ต้องทำอะไรบ้าง ทันทีหลังจากออกไปทำกิจกรรมหรือทำธุระนอกบ้าน เนื่องจากขณะอยู่นอกบ้านอาจสัมผัสเชื้อโรคโควิด-19 และนำเชื้อเข้ามาสู่ในบ้านหรือที่พักอาศัยโดยไม่รู้ตัว

  • ทำความสะอาดรถยนต์ทุกครั้งหลังใช้งาน โดยใช้น้ำผสมผงซักฟอกทั่วไปหรือน้ำยาฆ่าเชื้อ เช็ดทำความสะอาดที่ปิดเปิดประตูรถและห้องโดยสารภายในเช่น เบาะที่นั่ง พวงมาลัย ปุ่มเปิด-ปิดแอร์ วิทยุ เป็นต้น
  • เก็บรองเท้าไว้นอกบ้าน นอกห้อง
  • ถอดหน้ากากอนามัยใส่ถุงให้มิดชิด และทิ้งในถังขยะที่มีฝาปิดแยกเฉพาะ
  • เช็ดทำความสะอาดกระเป๋า โทรศัพท์มือถือ นาฬิกาข้อมือ แว่นตา กุญแจบ้าน กุญแจรถ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
  • ล้างมือฟอกสบู่นานอย่างน้อย 20 วินาที
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งของในบ้านหรือนั่งบนเก้าอี้ โซฟา ก่อนอาบน้ำ
  • ไม่สัมผัสสัตว์เลี้ยง หรือบุคคลในบ้าน ก่อนอาบน้ำ
  • แยกเสื้อผ้าที่ใส่ไปนอกบ้าน ออกจากเสื้อผ้าที่ใช้ใส่ในบ้าน ไม่ให้ปะปนกัน
  • อาบน้ำสระผมทันที
  • เมื่อรับประทานอาหารร่วมกันกับสมาชิกในบ้าน ให้ใช้ช้อนกลางส่วนตัวตักอาหาร

Temporary Hospital (CURA) ห้องผู้ป่วยหนักสุดล้ำ โรงพยาบาลชั่วคราวระดับโลก ห้องความดันลบจำเป็นอย่างมากในวิกฤตที่เรากำลังเผชิญอยู่ เรายังต้องอยู่กับโควิด 19 และจะผ่านพ้นสถานะการณ์นี้ไปด้วยกัน สิ่งที่เราได้จากโรคระบาด คือการร่วมมือร่วมใจกัน และแสดงศักยภาพ สร้างนวัฒกรรมที่ทำให้เราเดินหน้าได้  เป็นไอเดียในการออกแบบ ที่เหมาะกับสถานการณ์ตอนนี้อย่างมาก ไม่เพียงแค่ห้องความดันลบ ยังมีการก่อสร้างสถานีสุขภาพนานาชาติกว่างโจวของจีน เพื่อกักตัวกว่า 5,000 ห้องในระยะเวลาไม่ถึง 3 เดือน