Hua Lamphong Station สถานีหัวลำโพง พลิกโฉมสถาปัตยกรรม 105 ปี สู่แหล่งเศรษฐกิจ

ความผูกพัน อยู่คู่กับการเดินทางของคนไทยมาหลายต่อหลายยุคสมัย สถานีรถไฟหัวลำโพง ใจหายไม่น้อยที่ต้องอำลา ปิดตำนาน สถานีรถไฟหัวลำโพง ประวัติศาสตร์และความผูกพันธ์ของคนไทยที่มีต่อสถานีรถไฟแห่งนี้ พลิกโฉมสู่บทบาทใหม่ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และ แหล่งเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์  ที่จะเชื่อมโยงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมย่านเมืองเก่าและย่านการค้าใหม่ กระทรวงคมนาคม มีนโยบายให้ สถานีกลางบางซื่อ เป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบรางของประเทศไทย ทำให้สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)  ที่ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการเดินทางระบบรางของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ลดบทบาทลง อำลาประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 105 ปี  กับงานสถาปัตยกรรมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซองมีลักษณะคล้ายกับรถไฟเมืองแฟรงค์เฟิร์ตในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ที่ทรงคุณค่าของประเทศไทยจะถูกเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการรถไฟ และในหน้าของงานสถาปัตยกรรม Hua Lamphong Station สถานีหัวลำโพง พลิกโฉมสถาปัตยกรรม 105 ปี สู่แหล่งเศรษฐกิจ

สถานีหัวลำโพง โดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซอง

สถานีหัวลำโพง ตั้งอยู่ใจกลางเมือง สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือเรียกกันทั่วไปว่า หัวลำโพง เริ่มก่อสร้างในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 คือในปี พ.ศ.2453 การก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดใช้บริการอย่างเป็นทางการโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ ทรงกระทำพิธีกดปุ่มสัญญาณไฟฟ้าให้รถไฟขบวนแรกเดินเข้าสู่สถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2459  สถานีรถไฟกรุงเทพ สร้างอยู่ในพื้นที่ 120 ไร่เศษ อยู่ห่างจากสถานีเดิมไปทางทิศใต้ ประมาณ 500 เมตร ตั้งอยู่ในท้องที่ แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ มีอาณาเขต ทิศเหนือ จรดคลองมหานาค ทิศใต้ จรดถนนพระราม 4 ทิศตะวันออก จรดถนนรองเมือง ทิศใต้ จรดคลองผดุงกรุงเกษม สถานีกรุงเทพ มีแบบก่อสร้างเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซองมีลักษณะคล้ายกับรถไฟเมืองแฟรงค์เฟิร์ตในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันอีกทั้งวัสดุในการก่อสร้างก็เป็นวัสดุสำเร็จรูปจากเยอรมันนี เช่นกันลวดลายต่าง ๆ ที่ประดับไว้เป็นศิลปะที่มีความวิจิตรสวยงามมาก บันไดและเสาอาคารบริเวณทางขึ้นที่ทำการกองโดยสาร หรือโรงแรมราชธานีเดิมเป็นหินอ่อน โดยเฉพาะเพดานเป็นไม้สักสลักลายนูน ซึ่งหาดูได้ยาก จุดเด่นของสถานีกรุงเทพอีกอย่างหนึ่งคือ กระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งติดตั้งไว้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับตัวอาคารเช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาที่มีอายุเก่าแก่เท่า ๆ กับตัวอาคารสถานี โดยติดตั้งไว้ที่กึ่งกลางยอดโดมสถานี เป็นนาฬิกาที่สั่งทำพิเศษเฉพาะไม่ระบุชื่อบริษัทผู้ผลิตแสดงให้เห็นเหมือนนาฬิกาอื่น ๆ นาฬิกาเรือนนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 160 เซนติเมตร

ภาพประกอบ :ไทยรัฐ

สถานีกรุงเทพได้รับการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับการสภาพการโดยสารตลอดมา เป็นต้นว่าการขยายความยาวของชานชาลาหรือก่อสร้างชานชาลาและหลังคาคลุมชานชาลาเพิ่มเติม ปรับปรุงห้องจำหน่ายตั๋ว โดยแยกเป็นห้องจำหน่ายตั๋วห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้า จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ แก่ผู้โดยสารและผู้ที่มารับส่ง เช่น ร้านอาหาร/เครื่องดื่ม ร้านค้าเบ็ดเตล็ด ร้านขายหนังสือพิมพ์ ที่ทำการไปรษณีย์ เป็นต้น นอกจากนี้แล้วสถานีกรุงเทพยังเป็นสถานที่รณรงค์ต่อต้านภัยจาก การสูบบุหรี่โดยจัดให้เป็นเขตปลอดบุหรี่เพื่อสุขภาพของผู้โดยสารของทุกคนส่วนรวมในปี 2541 สถานีกรุงเทพได้รับการปรับปรุง ผู้โดยสารหรือผู้เข้ามาใช้บริการอื่น ๆ แบบที่เรียกว่า พลิกโฉม โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงภาพลักษณ์ของรถไฟไทยให้ตอบรับกับปีอเมซิ่งไทยแลนด์ และรองรับการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 6 – 20 ธันวาคม พ.ศ.2541 การบูรณะ และพัฒนาอาคารโดยอนุรักษ์และพัฒนา อาคารสถานีกรุงเทพให้อยู่ในสภาพเดิม เนื่องจากเป็นอาคารที่อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่มีคุณค่าแก่การอนุรักษ์

ตัวสถานีแบ่งเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ อาคารมุขหน้า มีลักษณะเหมือนระเบียงยาว และอาคารโถงสถานีเป็นอาคารหลังคาโค้งขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิก คือ เป็นงานเลียนแบบสถาปัตยกรรมโบราณของกรีก – โรมัน จุดเด่นของสถานีกรุงเทพอีกอย่างหนึ่งคือ กระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังซึ่งประดับไว้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับตัวอาคาร เช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาซึ่งติดตั้งไว้กลางส่วนโค้งของอาคารด้านในและด้าน นอก โดยเป็นนาฬิกาที่สั่งทำขึ้นพิเศษเป็นการเฉพาะ บริเวณที่พักผู้โดยสารเป็นห้องโถงชั้นครึ่ง ชั้นล่างซึ่งมีที่นั่งจำนวนมาก มีร้านค้าหลากหลาย ได้แก่ ร้านอาหาร ขนม เครื่องดื่ม ผลไม้ ขนมปัง ไอศกรีม หนังสือ ร้านขายยา ฯลฯ ก่อนถึงห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้ายังมีห้องละหมาดอีกด้วย

ผนังด้านซ้ายและขวาของสถานีกรุงเทพมีภาพเขียนสีน้ำ เป็นภาพสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญๆ ของประเทศ อาทิ พระบรมมหาราชวัง ตลาดน้ำ เขาวัง ภูกระดึง หาดสมิหลา ฯลฯ นอกจากนี้ที่ด้านหน้าสถานีมีสวนหย่อมและน้ำพุสำหรับประชาชน โดยข้าราชการรถไฟได้รวบรวมทุนทรัพย์จัดสร้างอนุสาวรีย์น้อมเกล้าฯ อุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระพุทธเจ้าหลวง อนุสาวรีย์รูป “ช้างสามเศียร” มีพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แกะสลักเป็นภาพนูนสูงประดิษฐานอยู่ด้านบน

ภาพประกอบ : https://www.bangkokbiznews.com

โฉมใหม่สถานีหัวลำโพง

สถานีรถไฟหัวลำโพง ในแผนพัฒนาฯ โฉมใหม่หัวลำโพงแบ่งเป็น 5 โซน

  • โซน A 16 ไร่ เป็นอาคารสถานีหัวลำโพงและพื้นที่สาธารณะ
  • โซน B 13 ไร่ มีแผนปรับปรุงอาคารให้เป็นไปตามแนวทางอนุรักษ์
  • โซน C 22 ไร่ พื้นที่โรงซ่อมรถรางกำหนดเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ ร้านค้า ร้านอาหาร พื้นที่กิจกรรม เน้นพื้นที่สีเขียว มีต้นแบบจากเวนิส อิตาลี
  • โซน D 49 ไร่ พื้นที่ชานชาลา,เส้นทางทางรถไฟ,ย่านสับเปลี่ยนการเดินรถ มีแผนพัฒนาเป็นรูปแบบมิกซ์ยูส โรงแรม อาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัยคอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า โดยยึดต้นแบบ โตเกียว มิดทาวน์
  • โซน E 20 ไร่ อาคารสำนักงาน รฟท. ตึกคลังพัสดุเดิม มีแผนพัฒนาเป็นมิกซ์ยูส โรงแรม อาคารสำนักงาน ศูนย์กิจกรรม โดยยึดต้นแบบโครงการ Suzhou Creek เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน

Hua Lamphong Station สถานีหัวลำโพง พลิกโฉมสถาปัตยกรรม 105 ปี สู่แหล่งเศรษฐกิจ สถาปัตยกรรมที่เก่าแก่กว่า 105 ปี แบบก่อสร้างเป็นรูปโดมสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซองมีลักษณะคล้ายกับรถไฟเมืองแฟรงค์เฟิร์ต ถือเป็นศิลปะการก่อสร้างที่งดงาม อยู่คู่กับประเทศไทยมาช้านาน กับการเปลี่ยนแปลงเป็นศูนย์กลางย่านเศรษฐกิจ ผสมผสานอย่างหลากหลาย ทั้งห้างสรรพสินค้า โรงแรม เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จะเปลี่ยนโฉมสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ กับแผนพัฒนา ในอีกหลายปีข้างหน้า ที่ต้องดำเนินการก่อสร้าง เป็นที่จับตามองของวงการก่อสร้าง และเศรษฐกิจของประเทศ กับเสียงคัดค้านของหลายฝ่าย และการออกแบบที่ถูกใจ และไม่ถูกใจ หลายท่าน โฉมใหม่ของสถานีหัวลำโพงจะอลังการแค่ไหน เข้ามาฟื้นเศรษฐกิจได้ไหม ต้องคอยติดตามกัน

บทความที่น่าสนใจ :
US Embassy in Thailand สถานทูตสหรัฐแห่งใหม่กลางกรุง ด้วยเทคโนโลยีการก่อสร้างระดับโลก มาตรฐานอาคารสีเขียว

Steel structures for lifestyle สถาปัตยกรรมโครงสร้างเหล็ก ต่อยอดธุรกิจ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์

BMPLC New Factory Project 10,000 sq.m.

EPOXY FLOOR vs PU FLOOR เคลือบพื้นแบบไหนทนทานเหมาะกับโรงงาน คลังสินค้าของคุณ

E-commerce Warehouse ก้าวเป็นผู้นำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ต้องมีคลังสินค้า โกดัง แบบไหน

Bonded Warehouse เจาะลึกคลังสินค้าทัณฑ์บน สินค้านำเข้าส่งออกปลอดภาษีจริงไหม?

Feng Shui ต้องรู้ฮวงจุ้ยอาคาร คลังสินค้า โกดัง ให้ธุรกิจรุ่งเรือง เงินไหลมาเทมา

Skylight หลังคาคลังสินค้า โรงงาน แบบไหนประหยัด เพิ่มกำไรให้ธุรกิจ

Source  :https://www.facebook.com/hashtag/สถานีรถไฟหัวลำโพง , https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/972496 , https://th.wikipedia.org/wiki/สถานีกรุงเทพ