US Embassy in Thailand

สถานทูตสหรัฐแห่งใหม่กลางกรุง ด้วยเทคโนโลยีการก่อสร้างระดับโลก มาตรฐานอาคารสีเขียว

สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยเริ่มก่อสร้างอาคารหลังใหม่ ทุ่มงบกว่า 20,000 ล้านบาท โดยการออกแบบอาคาร แนวร่วมสมัยได้รับแรงบันดาลใจมาจากมรดกทางสถาปัตยกรรมไทย ผสมผสานขนบไทยเข้ากับสถาปัตยกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยี และการก่อสร้างสุดล้ำของอเมริกา โครงการนี้มีเป้าหมายที่จะก่อสร้างอาคารให้ได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมระดับ Silver ภายใต้มาตรฐาน Leadership in Energy and Environmental Design (LEED) และมีองค์ประกอบมากมายที่ออกแบบมาเพื่อให้อาคารมีความยั่งยืน โดยอาคารดังกล่าวจะส่งเสริมการเดินหน้ายกระดับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และไทย ทั้งทางการทูต, ความมั่นคง และการพาณิชย์ ตลอดจนสานไมตรีระหว่างเราและชาวไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น นับเป็นอาคารที่น่าจับตามอง ยิ่งในด้านของสาธารณสุขที่ตอนนี้มีบทบาทอย่างยิ่ง กับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 ที่ทางสหรัฐฯ ได้บริจาควัคซีนไฟเซอร์จำนวน 1.5 ล้านโดส ให้ประเทศไทยเพื่อบรรเทาสถานการณ์ ตอกย้ำความสัมพันธ์อันดีที่มีมายาวนาน US Embassy in Thailand สถานทูตสหรัฐแห่งใหม่กลางกรุง ด้วยเทคโนโลยีการก่อสร้างระดับโลก มาตรฐานอาคารสีเขียว

ภาพประกอบ :https://th.usembassy.gov/

ในเดือนสิงหาคม 2564 สหรัฐอเมริกาได้เริ่มก่อสร้างอาคารแห่งใหม่บนพื้นที่เดิมของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย อาคารหลังนี้คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2568 โดยจะพัฒนาพื้นที่สำหรับบริการด้านกงสุลและภารกิจทางการทูตให้ทันสมัย รวมถึงสะท้อนความสำคัญของพันธมิตรอันยาวนานกับราชอาณาจักรไทย ด้วยมิตรภาพกว่า 2 ศตวรรษ สหรัฐฯ และไทยได้กระชับความร่วมมือในทุกภาคส่วน ตั้งแต่การค้าระดับทวิภาคี ไปจนถึงการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ และการสาธารณสุข

อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูต ไมเคิล ฮีธ กล่าวว่า “อาคารใหม่ของสถานทูตที่ออกแบบอย่างทันสมัยแห่งนี้จะเป็นที่ตั้งของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ร่วมมือกับประเทศไทยและอาเซียนเพื่อยกระดับประเด็นสำคัญของภูมิภาค รวมทั้งการปรับปรุงด้านสาธารณสุข การจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม และการต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติ อาคารนี้ออกแบบให้สะท้อนถึงสถาปัตยกรรมแบบไทยเดิม และผมหวังว่าอาคารหลังใหม่นี้จะเป็นสัญลักษณ์และศูนย์กลางของมิตรภาพระหว่างไทยกับสหรัฐฯ อย่างยืนยาวในอนาคต”

ภาพประกอบ :https://th.usembassy.gov/

การก่อสร้างอาคารหลังนี้ยังจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญ สหรัฐฯ จะใช้งบประมาณ 625 ล้านเหรียญ (20,000 ล้านบาท)   และว่าจ้างคนงานไทยประมาณ 2,000 คนตลอดระยะเวลาการก่อสร้าง การออกแบบร่วมสมัยของอาคารได้รับแรงบันดาลใจมาจากมรดกทางสถาปัตยกรรมไทย โดยคำนึงถึงสภาพอากาศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นการผสมผสานขนบไทยเข้ากับสถาปัตยกรรม การออกแบบ วิศวกรรม เทคโนโลยี และการก่อสร้างชั้นเลิศของอเมริกา โครงการนี้มีเป้าหมายที่จะก่อสร้างอาคารให้ได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมระดับ Silver ภายใต้มาตรฐาน Leadership in Energy and Environmental Design (LEED) และมีองค์ประกอบมากมายที่ออกแบบมาเพื่อให้อาคารมีความยั่งยืนยิ่งขึ้น แม้พิธีเปิดหน้าดินอย่างเป็นทางการจะเลื่อนออกไปเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด แต่ได้มีการจัดพิธีบวงสรวงไปแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

ภาพประกอบ :https://th.usembassy.gov/

ทำความรู้จักกับ LEED มาตรฐานอาคารสีเขียว

LEED หรือ Leadership in Energy and Environmental Design เป็นระบบการให้คะแนนอาคารสีเขียว หรือ Green Building ที่ได้รับความนิยมทั่วโลก LEED ได้รับการคิดขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างอาคารที่ดีต่อสุขภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประหยัดทั้งเงินและทรัพยากร อาคารต่างๆ ที่ต้องการมีเครื่องยืนยันถึงความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันจึงมุ่งที่จะได้รับใบรับรองจาก LEED ซึ่งขณะนี้ได้ขยายไปกว่า 165 ประเทศทั่วโลกแล้ว เพื่อเป้าหมายที่จะทำให้ภาครัฐและเอกชนที่ต้องสร้างอาคารทั่วโลกให้ความสนใจกับการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยการรับรองของ LEED แบ่งออกเป็น 4 ระดับ Certified, Silver, Gold และ Platinum ซึ่งจะได้รับตามแต้มการให้คะแนนจากหลากหลายหัวข้อ ไม่ว่าจะเป็น สถานที่ตั้งและการเดินทาง, อยู่ในพื้นที่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, มีการบริหารการใช้น้ำอย่างประหยัด คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ, มีการบริหารการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ, วัสดุที่ใช้และแหล่งที่มา, สภาพแวดล้อมภายในอาคาร, การใช้นวัตกรรมสมัยใหม่ เป็นต้น

ข้อดีของการสร้างอาคารสีเขียว

  • เป็นการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนโดยปกติอาคารเขียวจะช่วยลดการใช้พลังงานได้ประมาณ 10-48% ผ่านการจัดการพลังงานอย่างเหมาะสม เลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ช่วยประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการควบคุมงานในระหว่างการก่อสร้าง ไม่ให้รบกวน หรือส่งผลกระทบต่อชุมชมที่อยู่รอบข้าง มีการกำจัดวัสดุเศษวัสดุที่เกิดขึ้นในโครงการอย่างเหมาะสม มุ่งเน้นคุณประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์เป็นหลัก ตลอดจนการรักษาพื้นที่สีเขียวภายใน โครงการ ได้อย่างน้อย 20% ของพื้นที่โครงการ
  • ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการอาคารหลักการพื้นฐานของการพัฒนาอาคารสีเขียว คือต้องใส่ใจในการเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์สาธารณูปโภคที่ช่วยประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น นอกจากนี้อาจมีการนำระบบจัดการอาคารแบบอัตโนมัติ (Building Automation System หรือ BAS) ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ระบบสาธารณูปโภคทั้งหมดของอาคารทั้งระบบไฟและระบบปรับอากาศมาใช้งาน เพื่อควบคุมการใช้พลังงานของอาคารผ่านระบบคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การปรับระดับของอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะกับผู้ใช้อาคาร ปรับแสงสว่าง หรือปิดไฟอัตโนมัติเมื่อไม่มีผู้ใช้งานบริเวณนั้นๆ การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อสุขภาพผู้ใช้งาน ช่วยประหยัดน้ำและไฟ
  • เพิ่มคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้อาคารเนื่องจากต้องคำนึงถึงทั้งการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ การเลือกใช้สารเคลือบผิว และช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับสภาพแวดล้อมภายในอาคารเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับผู้ใช้อาคารและตอบสนองการใช้งานได้อย่างมีความสุข อาทิ อากาศภายในอาคารจะต้องเป็นอากาศบริสุทธิ์ มีการไหลเวียนของอากาศได้ดี เสียง อุณหภูมิ และแสงสว่างภายในอาคารมีการควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ตลอดจนสถานที่ตั้งของอาคารที่ควรตั้งอยู่ใกล้ระบบขนส่งมวลชนเพื่อลดมลภาวะจากการใช้รถยนต์ส่วนตัว เป็นต้น
  • สะท้อนวิสัยทัศน์การพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กรการพัฒนาอาคารเขียวช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับเจ้าขององค์กร หรือเจ้าของอาคาร เพราะการให้ความสำคัญกับการพัฒนาอาคารเขียวนับเป็นการแสดงวิสัยทัศน์ในการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สะท้อนถึงหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นด้านธุรกิจและการลงทุนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
  • ทำให้มูลค่าอาคารเพิ่มสูงขึ้นหากมองในแง่ของอาคารที่เปิดให้เช่าพื้นที่ เมื่อมีการพัฒนาอาคารเขียวจะทำให้สามารถเพิ่มค่าเช่าพื้นที่ได้มากกว่าอาคารทั่วไป นอกจากนี้มูลค่าเพิ่มของอาคารสามารถสะท้อนผ่านการลดค่าใช้จ่ายภายในอาคารในระยะยาว ซึ่งจะเห็นชัดเจนได้จากต้นทุนในการบริหารจัดการอาคารที่ลดลง รวมถึงสะท้อนผ่านประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นของพนักงานเมื่อมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

US Embassy in Thailand สถานทูตสหรัฐแห่งใหม่กลางกรุง ด้วยเทคโนโลยีการก่อสร้างระดับโลก มาตรฐานอาคารสีเขียว  “อาคารเขียว” ไม่เพียงเป็นอาคารรักษ์พลังงานและรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นอาคารที่น่าอยู่อาศัย เพราะคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ใช้งานอาคาร รวมถึงสภาพแวดล้อมรอบอาคาร อีกทั้งยังส่งผลดีต่อองค์กร ทั้งด้านภาพลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว อีกทั้งยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาคารได้เป็นอย่างดี จึงไม่น่าแปลกใจที่แนวโน้มของการพัฒนาอาคารเขียวในประเทศไทย อาคารสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยแห่งใหม่นี้ เป็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่งในวงการสถาปัตยกรรม งานก่อสร้างในเทคโนโลยีที่ทันสมัยของอเมริกา จะเปิดโลกงานก่อสร้างของไทยอย่างแน่นอน ตามไปดูงานสถานปัตยกรรมระดับโลกต่อได้ที่ Amazing Architecture สร้างสถาปัตยกรรมยังไง ให้โลกจำ

Source  https://www.matichon.co.th/social/news_2915097 , https://th.usembassy.gov/th/u-s-embassy-begins-construction-of-new-annex-th/
www.eurooriental.co.th , www.propertytoday.in.th
Photo https://th.usembassy.gov/