การตั้งโรงงานและโกดังในปัจจุบันนั้นเกิดขึ้นมากมาย แต่หากต้องการจะทำเกี่ยวกับโรงงานและโกดังนั้นจำเป็นต้องรู้เกี่ยวเรื่องพื้นฐานที่ควรรู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกฎหมายสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและพลังงาน เพื่อการก่อตั้งโรงงานให้ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและพลังงาน

กฎหมายสิ่งแวดล้อม คืออะไร

กฎหมายสิ่งแวดล้อม คือ กฎหมายประเภทหนึ่ง มักตราขึ้นเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ได้มีการริเริ่มจะให้มีกฎหมายสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นครั้งแรกในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมประมาณช่วง พ.ศ. 2503 เนื้อหาครอบคลุมการป้องกันและเยียวยาความเสื่อมโทรมแห่งสุขภาพทั้งของมนุษย์และอมนุษย์ และมักคาบเกี่ยวกับกฎหมายจารีตประเพณี สนธิสัญญา ข้อตกลง พันธกรณี กฎระเบียบ และนโยบาย ฯลฯ หลากชนิด กฎหมายสิ่งแวดล้อมของบางประเภทอาจกำหนดคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจำกัดเงื่อนไขในการดำเนินกิจการบางประเภทของมนุษย์ เช่น กำหนดปริมาณของภาวะมลพิษที่จะให้มีได้ หรือกำหนดให้ต้องมีการวางแผนและการตรวจสอบกิจการบางอย่าง เป็นต้น

นโยบายของรัฐ เป็นต้นว่า มาตรการกันไว้ดีกว่าแก้ (precautionary principles) การมีส่วนร่วมของประชาชน การจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อม และมาตรการใครทำคนนั้นจ่าย (polluter pay principles) ล้วนเป็นลักษณะหนึ่งของกฎหมายสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่านานาประเทศในโลกจะได้ตรากฎหมายสิ่งแวดล้อมขึ้น แต่กลไกแห่งกฎหมายดังกล่าวก็มักไม่ประสบผล และในปัจจุบัน กฎหมายสิ่งแวดล้อมก็ถูกมองว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งในการโฆษณา

ดังนั้น การปฏิรูปกฎหมายสิ่งแวดล้อมในขณะนี้ เป็นไปเพื่อพัฒนามาตรการด้านสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมที่ใช้มาตรการบังคับและควบคุม (command and control) ซึ่งผู้ประกอบการมักไม่พอใจนัก ผลส่วนหนึ่งที่ได้จากการปฏิรูปดังกล่าว เป็นต้นว่า การจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม การวางมาตรฐานบางอย่าง เช่น ISO1400

โครงการก่อสร้างโรงงาน แคล คอม อิเล็กทรอนิกส์ ประเทศไทย จำกัด มหาชน

แนวทางการบริหาร จัดการสิ่งแวดล้อมของ กนอ.

ในการตั้งโรงงานและโกดัง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและพลังงานของนิคมอุตสาหกรรมเป็นอย่างยิ่งโดยได้กำหนดแนวทางการบริหาร จัดการสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและพลังงานในนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรืออุตสาหกรรมเพื่อกำกับและควบคุมการพัฒนาจัดตั้งโรงงานคลังสินค้าและการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรมให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและมีความปลอดภัยสูงสุด โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังต่อไปนี้

  1. ระยะพัฒนาโครงการ (Development Period) ในการพัฒนาโครงการเพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม กนอ.ได้ กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานด้วยความตระหนักในเรื่องเกี่ยว กับผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการยอมรับจากชุมชนโดยมี การเตรียมการเพื่อป้องกันและ ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมรวม ทั้งมีมาตรการเพื่อแก้ไขและติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ก่อนเริ่มโครงการ สรุปได้ดังต่อไปนี้
  • 1.1. การเลือกพื้นที่ (Site Selection) มีการสำรวจและพิจารณาความเหมาะสมด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นดังนี้
    • สภาพภูมิประเทศทั่วไป
    • แหล่งรองรับน้ำทิ้ง / แหล่งน้ำใช้
    • คุณภาพอากาศและระดับเสียง
    • ชุมชนบริเวณใกล้เคียงโครงการ
  • 1.2. การจัดทำแนวคิดการออกแบบเบื้องต้น (Conceptual Design) โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
    • โรงงานที่มีน้ำเสียประเภทเดียวกันอยู่บริเวณเดียวกัน
    • โรงงานที่ไม่มีมลภาวะตั้งอยู่บริเวณรอบนอกนิคมอุตสาหกรรม หรือติดกับชุมชน
    • กำหนดที่ตั้งโรงงานที่มีผลกระทบด้านกลิ่น / อากาศ โดยคำนึงเรื่องทิศทางลม
    • จัดให้มีระบบกำจัดของเสียอยู่ส่วนในของพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม
    • นำน้ำกลับมาใช้ประโยชน์มากที่สุด
    • กำหนดพื้นที่สีเขียวอย่างน้อยร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด
    • กำหนดให้มีพื้นที่แนวกันชนรอบนิคมอุตสาหกรรม
    • คำนึงถึงด้านภูมิสถาปัตย์ / ความเป็นเอกลักษณ์กลมกลืนกับท้องถิ่น (Unique)
  • 1.3. การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment; EIA) ทำการศึกษาและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินโครงการเพื่อกำหนด มาตรการป้องกันและลดผลกระทบ รวมถึงมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมของโครงการทั้งในระยะก่อสร้าง และระยะ ดำเนินการ
  • 1.4. การออกแบบรายละเอียดโครงการ (Detail Design) ในการออกแบบรายละเอียดโครงการ กนอ. ได้กำหนดให้ โครงการนำข้อมูลจากการออกแบบเบื้องต้น (Conceptual Design) และรายงาน EIA มาใช้ประกอบในการออกแบบ และก่อสร้างระบบผ้องกันมลพิษที่ได้มาตรฐานประกอบด้วย
    • ระบบท่อรวมน้ำเสีย
    • ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง
    • ระบบบริหารจัดการมูลผอลและกากอุตสาหกรรม
  1. ระยะก่อสร้างโครงการ (Construction Period) กนอ. กำกับและควบคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามมาตร ฐานการออกแบบที่เสนอไว้รวมทั้งดำเนินการตามมาตรการลดผลกระทบและติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวด ล้อมระหว่างการก่อสร้าง ตามรายงาน EIA
สร้างโกดัง หจก รุ่งนิรันดร์เคมีเกษตร จ.พะเยา 6
  1. ระยะดำเนินการ (Operation Period)
    • กำกับและควบคุมนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานให้ดำเนินการตามกฎหมายและจ้อกำหนดต่างๆ ทั้งในสภาวะปกติ และในสภาวะฉุกเฉิน รวมทั้งในกรณีที่มีการร้องเรียน
    • ติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมนิคมอุตสาหกรรม /ท่าเรืออุตสาหกรรม อย่างสม่ำเสมอได้แก่คุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ ระดับเสียงและกากอุตสาหกรรมตามที่ได้เสนอในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมรวมทั้งกรณี ภาวะฉุกเฉินและมีการร้องเรียน
    • ฟื้นฟู / แก้ไข และยกระดับมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมของนิคมอุตสาหกรรม
    • ส่งเสริมและยกระดับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามีัย และพลังงาน ให้ได้มาตรฐานสากล โดยการนำระบบ ISO 14001 และ มอก.18000 ตลอดจนแนวคิดด้านเทคโนโลยี สะอาด (Clean Technology) มาประยุกต์ใช้กับนิคมอุตสาหกรรม และโรงงาน
    • ส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานควบคุมดูแลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและไฟฟ้าอย่าง ประหยัดเท่าที่จำเป็นพร้อมทั้งรณรงค์การใช้น้ำอย่าง รู้คุณค่าและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำให้เป็นประโยชน์

Key Takeaway

จะเห็นได้ว่า กฎหมายสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและพลังงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบกิจการ ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับประสิทธิผลของผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งจะนำไปสู่การอยู่ร่วมกับชุมชนรอบอย่างยั่งยืน กนอ. จึงกำหนดแนวทางการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมไว้ดังนี้

  1. ระยะพัฒนาโครงการ (Development Period)
  2. ระยะก่อสร้างโครงการ (Construction Period)
  3. ระยะดำเนินการ (Operation Period)