Soundproofing hospital โรงพยาบาลเก็บเสียง ฟื้นฟูผู้ป่วยได้ดีกว่า

การดูแล รักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาล จำเป็นต้องมีสภาพแวดล้อมรอบตัวที่เหมาะสม ผ่านการรับรู้ การมอง การได้ยิน ที่ส่งเสริมให้การฟื้นฟูผู้ป่วยดีขึ้น ลดความเครียดและความวิตกกังวล อะคูสติกในสถานพยาบาลนั้นสำคัญอย่างมาก สภาพแวดล้อมทางเสียงที่ไม่ดีมีผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัว ทำให้เกิดภาวะความเครียด และส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ในผู้ป่วยและครอบครัว ยิ่งในช่วงการระบาด Covid-19 มีผู้ป่วยเพิ่มมากยิ่งขึ้น นอกจากอาการป่วยทางร่างกายแล้ว จิตใจที่มีความวิตกกังวล ความเครียดก็อาจส่งผลกระทบ ต่อทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ด้วย การมีห้องพยาบาลที่เก็บเสียงก็สามารถลดความวุ่นวาย ส่งเสริมให้สภาพแวดล้อมทางเสียงในโรงพยาบาลดีขึ้น เหมาะสมกับการพักฟื้น ดูแลผู้ป่วย และสร้างบรรยายกาศด้านเสียงที่ดีในการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์และพยาบาลให้เป็นไปได้อย่างราบรื่น มาดูกันว่า แก้ปัญหาเรื่องเสียงรบกวนในโรงพยาบาลได้อย่างไร ฟื้นฟูผู้ป่วยได้จริงไหม

เสียงรบกวนมีผลต่อผู้ป่วย, ผู้ดูแล, และผู้มาเยี่ยมอย่างไร

การรบกวนการนอนหลับ และทำให้ความดันเลือดสูง เกิดขึ้นในผู้ป่วย, ในผู้ดูแลบางคน, ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ และความเหนื่อยหน่ายเป็นผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางเสียงที่ไม่ดี ยกตัวอย่างในกรณีศึกษา ผู้ป่วยท่านหนึ่งอยู่ในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานานขึ้น หลังจากการผ่าตัดต้อกระจกในช่วงระยะเวลาหนึ่งเมื่อมีเสียงรบกวนระดับสูง และเมื่อระดับเสียงรบกวนเพิ่มขึ้นกว่า 60 dBA  ผู้ป่วยจากการผ่าตัดจะมีการใช้ยามากขึ้น เสียงรบกวนยังคงมีผลที่ตามมาสำหรับผู้ดูแล ซึ่งเป็นสาเหตุของความเครียดให้กับผู้ดูแล เหล่าพนักงานในโรงพยาบาล และอาจรบกวนความสามารถในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ของแพทย์ และพยาบาล ด้วยเช่นกัน  โดยทั่วไปผู้ป่วยมีความพึงพอใจมากขึ้นกับการดูแลของเจ้าหน้าที่เมื่ออยู่ภายใต้การดูแลในสภาพแวดล้อมเสียงที่ดี

สร้างห้องเก็บเสียงในโรงพยาบาล ช่วยแก้ปัญหาได้ตรงจุด

การปรับปรุงห้องพยาบาลเป็นห้องเก็บเสียง การใช้งานวัสดุที่ดูดซับเสียงภายในห้อง การใช้ฝ้าเพดานที่ดูดซับเสียงแทนฝ้าเพดานที่สะท้อนเสียง ยกตัวอย่างในกรณีศึกษาประเทศสวีเดนแสดงให้เห็นว่าการใช้กระเบื้องเพดานที่ดูดซับเสียง ผู้ป่วยที่เกี่ยวกับหลอดเลือด และหัวใจ (CCU) มีสภาพร่างกายที่ดีขึ้น ความสามารถในการดูดซับเสียงของวัสดุที่ใช้วัดกันโดยทั่วไป คือ NRC (ค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนคลื่นเสียง) การใช้กำแพงที่มีฉนวนกันเสียงที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยให้ความสำคัญกับเสียงที่ลอดผ่านกำแพงกั้น การวัดระดับการกันเสียงของวัสดุโดยจะใช้ STC (ความสามารถในการลดสียงผ่านผนัง) หรือ Rw (ความสามารถในการลดเสียงโดยเฉลี่ย)

การกำจัด หรือ การลดแหล่งกำเนิดเสียงรบกวน  โดยทั่วไปแหล่งกำเนิดเสียงรบกวนในโรงพยาบาล คือระบบเสียงตามสาย, อุปกรณ์เครื่องมือ และบทสนทนาของพนักงาน เสียงรบกวนเหล่านี้สามารถลดลงได้โดยการเปลี่ยนระบบเสียงตามสายเป็นโทรศัพท์ หรือ อุปกรณ์สื่อสารไร้สายโดยพนักงานเอง, การลบแหล่งกำเนิดเสียงเหล่านี้คือต้องปิดเครื่องมือเมื่อไม่ได้ใช้, มีการสนทนาแบบกลุ่มในที่ปิดมิดชิด, ให้พนักงานได้เรียนรู้เข้าใจในเรื่องความสำคัญของเสียงรบกวน และแนะนำให้พูดคุยกันอย่างเบาเสียง เสียงรบกวนจากภายนอกเสียงการคมนาคม การก่อสร้าง จำเป็นต้อง กันเสียงจากภายนอก การเลือกใช้วัสดุ ผนัง กระจก หน้าต่าง ประตู จำเป็นต้องเลือกวัสดุที่มีคุณสมบัติกันเสียงโดยเฉพาะ ระดับเสียงรบกวนสำหรับโรงพยาบาล ตามคำแนะนำที่กำหนดโดย World health Organization (WHO) กำหนดค่าที่ 35 dBA ระหว่างวัน และ 30 dBA ในตอนกลางคืน โดยค่าสูงสุดในช่วงเวลากลางคืนไม่ถึง 40 dBA

โรงพยาบาลเก็บเสียงเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ให้ผู้ป่วย และผู้ดูแล ในหลายกรณีที่ผู้ป่วยได้รับผลกระทบทางเสียง ทำให้การฟื้นฟูร่างกายช้าลง ผู้ดูแล แพทย์ พยาบาล ต่างต้องใช้สมาธิในการปฏิบัติหน้าที่  การมีห้องพยาบาลเก็บเสียง บรรยากาศโรงพยาบาลที่เงียบสงบ ไม่มีเสียงรบกวนที่ดังเกินมาตรฐาน เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมด้านเสียงที่น่าอยู่ ลดความเครียดได้ สำหรับการสร้างโรงพยาบาลเก็บเสียง ต้องมีการวัดค่าเสียงในพื้นที่ และการวางแผนการใช้พื้นที่ในแต่ละส่วน แบ่งโซน ออกแบบควบคุมระดับเสียงในแต่ละโซน การเลือกใช้วัสดุ ออกแบบให้สวยงาม สอดรับกับฟังก์ชั่นการใช้งาน รวมถึงระยะเวลา และงบประมาณในการสร้าง ที่ต้องมีการบริหารให้ลงตัว มีหลายปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเสียง ร่วมกับวิศวกร สถาปนิก ที่มีประสบการณ์ เพื่อคืนพื้นที่ในการปฏิบัติงานให้เจ้าหน้าที่โดยเร็วที่สุดในงบประมาณที่ตั้งไว้

Cr :  https://www.xn--12clb9evb8bdq0f8ec6fva.com/
A Joseph and R Ulrich. Sound Control for Improved Outcomes in Healthcare Settings. The Center for health Design. 2007
Fife, D., and E. Rappaport. 1976. Noise and hospital stay. American Journal of Public Health 66(7):680–81. Minckley (1968)
Murthy, V. S., K. L. Malhotra, I. Bala, and M. Raghunathan. 1995. Detrimental effects of noise on anesthetists. Canadian Journal of Anaesthesia 42:608–11.
Berglund, B., T. Lindvall, D. H. Schwelaand, and T.K. Goh. 1999. Guidelines for community noise. In Protection of the human environment. Geneva, Switzerland: World Health Organization.
Hagerman, I., G. Rasmanis, V. Blomkvist, R. S. Ulrich, C. A. Eriksen, and T. Theorell. 2005. Influence of coronary intensive care acoustics on the quality of care and physiological states of patients. International Journal of Cardiology 98:267–270
Peraturan Menteri Kesehatan Republik Indonesia No 7 Tahun 2019