ออกแบบอาคารป้องกันเสียงยังไง ให้จบทุกปัญหาเสียงรบกวน

การแก้ปัญหาเรื่องเสียง ถือเป็นเรื่องที่สำคัญในปัจจุบัน เพราะการดำเนินวิถีชีวิตในยุคนี้ต้องการการอำนวยความสะดวกจากผลิตภัณฑ์และบริการที่สมบูรณ์แบบ ลูกค้าหลายเคสที่เข้ามาปรึกษาและให้เราสร้างห้องเก็บเสียง ห้องสตูดิโอ ห้องประชุมเก็บเสียง และอื่นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเสียงที่รบกวนการใช้ชีวิต ซึ่งทำให้ต้องเสียเวลาเสียพื้นที่ในการปรับปรุงอาคารหรือห้องใหม่ การบริการลูกค้าต้องหยุดชะงัก แต่ปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป หากให้ความสำคัญเรื่องเสียงตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบอาคาร วางฟังก์ชั่นการใช้งานแต่ละห้อง หรือพื้นที่ให้สอดคล้องกับการออกแบบการป้องกันเสียงเพื่อให้ได้อาคารที่ไร้ปัญหาเรื่องเสียงมารบกวนในระยะยาว  มาดูกันว่าการออกแบบอาคารป้องกันเสียงต้องให้ความสำคัญเรื่องใดบ้าง

ทำไมการออกแบบอาคารป้องกันเสียงถึงตอบโจทย์

ผู้ออกแบบมักแก้ปัญหาโดยเพิ่มความหนาให้ระบบผนัง หรือระบบฝ้า เพื่อลดความดังของเสียงจากภายนอกที่เข้ามาในห้อง และให้ได้ค่าระดับความดังของเสียงที่เหมาะกับสภาพการใช้งานของแต่ละห้องซึ่งจะทำให้เปลืองพื้นที่ใช้สอย เนื่องจากความหนาของผนังนั้นมักจะหนากว่าเดิมประมาณ 2 เท่า และทำให้น้ำหนักโดยรวมของอาคารเพิ่มขึ้นต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของโครงสร้างมากขึ้น ดังนั้นการออกแบบเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องเสียงที่จะเกิดขึ้นจึงจำเป็นมาก เพราะนอกจากจะช่วยลดการเกิดปัญหาแล้ว ในบางครั้งปัญหาเรื่องเสียงก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ด้วยการเพิ่มวัสดุดูดซับเสียงหรือกันเสียง เนื่องจากเป็นเสียงที่มาตามโครงสร้าง ดังนั้นการออกแบบอาคารในการป้องกันปัญหาเรื่องเสียงถือเป็นการลงทุนครั้งเดียว ไปพร้อมกับการออกแบบอาคาร เพื่อไม่เกิดปัญหากวนใจในภายหลัง

การสำรวจค่าเสียงในบริเวณไซท์ก่อสร้าง (Noise Survey)​

ก่อนเริ่มออกแบบโครงการต่างๆ ปกติแล้วเราจะมีการสำรวจค่าเสียง Noise Survey พื้นที่บริเวณนั้นก่อนว่ามีอะไรบ้าง เช่น สนามเด็กเล่น สนามบิน หรืออื่นๆ   ความดังของเสียง Decibels ระดับความดังของเสียงสามารถวัดได้โดยมีหน่วยเป็นเดซิเบล (dB) โดยเสียงที่ดังที่สุดที่คนสามารถทนได้คือ 120 เดซิเบล และองค์กรอนามัยโลกได้กำหนดไว้ว่าเสียงที่ดังเกิน 85 dB นั้นมีอันตรายทั้งต่อสภาพร่างกายและสภาพจิตใจ

ค่าประมาณของเสียงที่พบเจอได้บ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน

เสียงกระซิบ 30 dB

เสียงสนทนา 60 dB

เสียงคนเดินหรือเสียงเครื่องจักรงานระบบ 70 dB

เสียงโทรทัศน์หรือ ห้องโฮมเธียร์เตอร์ 80 dB

เสียงรถยนต์ และรถบรรทุก 60-90 dB

เสียงเครื่องบิน 120 dB

การออกแบบโดยนำเรื่องเสียงมาพิจารณาร่วมกับฟังก์ชั่น (Noise Plan)

การกำหนดฟังก์ชั่นการใช้งานของพื้นที่ตั้งแต่เริ่มออกแบบนั้นก็มีความสำคัญมาก เพราะหากมีการปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นของห้องภายหลังอาจมีผลให้ห้องๆ นั้นไม่มีการจัดการเรื่องเสียงที่เหมาะสมทั้งยังส่งผลกระทบกับห้องข้างเคียงได้ นอกเหนือจากการกำหนดฟังก์ชั่นให้ชัดเจนแล้ว การใช้งานของพื้นที่ที่ถูกปรับเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลาของวันก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ผู้ออกแบบต้องวางแผนเรื่องการจัดการเสียงให้รัดกุมไปพร้อมๆ กับการวางแปลนของอาคาร

ตัวอย่างเช่น

  • เมื่อนึกถึงของห้องเครื่อง เราอาจจะคำนึงถึงในส่วนของขนาดและ Dimension ของสิ่งที่อยู่ภายในห้องเป็นสำคัญ ซึ่งจริงๆ แล้วเรื่องของเสียงที่เกิดจากเครื่องจักรภายในห้องนั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้นจึงต้องคำนึงไว้เสมอว่าห้องที่มีเสียงดังควรต้องตั้งอยู่ห่างจากห้องที่ต้องการความเงียบสงบเสมอ
  • กรณีที่ Julian Treasure ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสียงได้กล่าวไว้ใน TED Talk ตอนWhy architects need to use their ears เขาได้ยกตัวอย่างโรงเรียนชื่อดังแห่งหนึ่งในอังกฤษที่ถูกออกแบบมาให้มีโถงโล่งเป็นคอร์ทภายใน โดยมีห้องเรียนล้อมรอบสูง 3 ชั้น โดยห้องเรียนเหล่านั้นไม่มีผนังกั้น ผลคือนักเรียนแต่ละห้องไม่สามารถเข้าใจบทเรียนได้และบางคนก็ไม่สามารถได้ยินที่ที่ครูพูดเลย ทางโรงเรียนจึงต้องสูญเสียงบประมาณราว 6 แสนปอนด์เพื่อทำผนังกั้นห้องเหล่านี้ขึ้นมาใหม่
  • กรณี โรงแรมแห่งหนึ่งเจ้าของมีข้อกำหนด (Requirement) ให้มีห้องจัดเลี้ยงที่มีพื้นที่เชื่อมต่อกับสระว่ายน้ำได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วงานลักษณะนี้มักเป็นงานกลางคืน เมื่อพื้นที่ของห้องจัดเลี้ยงว่างในตอนกลางวันก็เปิดให้เป็นห้องสำหรับจัดสัมมนา ในขณะที่บริเวณสระว่ายน้ำเปิดให้ใช้ตามปกติ ผลปรากฏว่าเสียงดังแขกของโรงแรมที่มาเล่นน้ำส่งเสียงเล็ดลอดเข้ามาในห้องสัมมนาได้ ทำให้เกิดสภาวะที่ไม่เหมาะสมของเสียงขึ้น ในกรณีนี้อาจแก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนผังหรือแปลนของโรงแรมหรือ เลือกใช้ผนังกระจกกันเสียงบริเวณที่กั้นระหว่าง 2 พื้นที่ เนื่องจากกระจกเป็นวัสดุที่โปร่งใสสามารถเชื่อมต่อสเปซภายในและภายนอกได้ทั้งกันมีประสิทธิภาพในการกันเสียงได้สูงอีกด้วย

อ้างอิง :  https://www.wazzadu.com/article/3618

การให้ความสำคัญเรื่องเสียงตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบอาคารและออกแบบฟังก์ชั่นการใช้งานภายในอาคาร นอกจากจะไม่ต้องเสียงเวลาในการปรับปรุงอาคารหลายรอบ ระหว่างการใช้งานไม่เกิดปัญหากวนใจ ให้การดำเนินงานของบุคคลากรเป็นไปได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ มอบการบริการที่ดีที่สุดให้ลูกค้าได้ประทับใจ และถือเป็นการลงทุนในครั้งเดียวที่ตอบโจทย์ระยะยาว บริษัท เน็กซ์พลัส เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เรามีทีมงานที่เชี่ยวชาญเรื่องเสียง พร้อมให้คำปรึกษา ออกแบบพร้อมสร้างห้องเก็บเสียง อาคารป้องกันเสียง พร้อมผลงานการันตีมากมาย

ตัวอย่างผลงาน :
โครงการสตูดิโอ บริษัท Sdi Media Thailand ลิงค์เข้าชมผลงาน : https://www.nextplus.co.th/studio/studio-sdi-media-thailand?
โครงการห้องประชุมสำนักปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม https://www.nextplus.co.th/meeting-room/office-of-the-permanent-secretary-meeting-room