Factory owner เป็นเจ้าของโรงงาน ไม่ยากอย่างที่คิด

ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจและนักลงทุน อยากเป็นเจ้าของโรงงาน จะสร้างโรงงานของตัวเอง ปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้คำปรึกษาครบทุกด้าน และมีแบบที่เดียวครบวงจร ทำให้การสร้างโรงงาน สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น แต่เจ้าของโรงงานเองก็ต้องศึกษาทุกด้านที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะสามารถวางแผนและทำให้โรงงานมีคุณภาพลดต้นทุน ไร้ปัญหากวนใจ ควบคุมทุกกระบวนการได้ตามต้องการนั้นเอง และการสร้างโรงงานมีหลายปัจจัยที่จำเป็นต้องทราบเพื่อโอกาสทางธุรกิจที่มากกว่า จากกิจการในครอบครัวขยายเป็นโรงงานขนาดเล็ก หรือขนาดกลาง ต้องศึกษาหลายปัจจัย Factory owner เป็นเจ้าของโรงงาน ไม่ยากอย่างที่คิด

 

วางแผนให้รัดกุม

การสร้างโรงงานนั้นนับว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่ควรจะวางแผนเอาไว้ก่อนเริ่มอยากรอบคอบ เพราะโรงงานแต่ละประเภทนั้นมีรูปแบบการก่อสร้างที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของตัวอาคาร หรือโครงสร้างภายใน โดยสิ่งแรกที่ควรทราบนั่นก็คือ โรงงานที่กำลังจะสร้างนั้นมีจุดประสงค์เพื่อสินค้าประเภทใด เพื่อที่สถาปนิกจะสามารถออกแบบภายในโรงงานให้ถูกต้อง และผู้รับเหมาก่อสร้างได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะใช้งาน นอกจากนี้ อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงสำหรับผู้ที่อยากมีโรงงานนั่นก็คือ งบประมาณที่มีและความคุ้มค่า เพราะนอกจากค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างแล้ว ยังมีเครื่องจักรอุตสาหกรรมจำนวนมากที่มีราคาค่อนข้างสูง รวมไปถึงการว่าจ้างพนักงานในอนาคตอีกด้วย ดังนั้นจึงควรคำนวณเอาไว้ให้ดีว่า งบประมาณที่คุณนำไปใช้ก่อสร้างโรงงานนั้นเพียงพอหรือไม่ คุ้มค่ากว่าการจ้าง Outsource ผลิตแค่ไหน และต้องใช้เวลานานเท่าใดจึงจะคืนทุน

ทำเลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

มีทำเลที่ดีก็สร้างข้อได้เปรียบให้กับโรงงานหลายประการ เนื่องจากโรงงานนั้นจำเป็นต้องมีการนำสินค้าจำนวนมากเข้าออกบ่อยครั้ง การเลือกทำเลที่รถบรรทุกขนาดใหญ่สามารถเดินทางได้สะดวกจึงสำคัญมาก หรือถ้าสามารถเลือกที่ดินติดทะเลหรือแหล่งน้ำได้ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าได้อีกเช่นเดียวกันเพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการที่อยากให้โรงงานมีการระบบการทำงานที่คล่องตัวและไม่ล่าช้า จึงควรศึกษาในด้านทำเลเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังต้องอยู่ภายใต้กฎหมายในการก่อตั้งโรงงานอีกด้วย รวมไปถึงพื้นที่สำคัญต่างๆ แหล่งแรงงาน แหล่งวัตถุดิบ
ภาพประกอบ :freepik

ยื่นขอตรวจประเมินสถานที่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ไม่ใช่ทุกพื้นที่ที่สามารถปลูกสร้างโรงงานขึ้นมาได้ โดยจำเป็นจะต้องดำเนินการขออนุญาตกับทางรัฐบาลให้ถูกต้องตามกฎหมายเสียก่อน โดยพิจารณาตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 จะแบ่งตำแหน่งที่อนุญาตให้ปลูกสร้างโรงงานได้เป็น 3 จำพวก ดังนี้

  • โรงงานจำพวกที่ 1 ได้แก่ โรงงานที่มีคนงานไม่เกิน 20 คน และมีเครื่องจักรไม่เกิน 20 แรงม้า สามารถดำเนินกิจการได้ทันทีโดยไม่ต้องยื่นเอกสารขออนุญาต
  • โรงงานจำพวกที่ 2 ได้แก่ โรงงานที่มีคนงานมากกว่า 20 คน แต่ไม่เกิน 50 คน และมีเครื่องจักรมากกว่า 20 แรงม้า แต่ไม่เกิน 50 แรงม้า โรงงานจำพวกนี้ไม่ต้องขอใบอนุญาต แต่ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อน พร้อมต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีด้วย
  • โรงงานจำพวกที่ 3 ได้แก่ โรงงานที่มีคนงานมากกว่า 50 คนและมีเครื่องจักรมากกว่า 50 แรงม้า หรือเป็นโรงงานที่มีมลภาวะจากการผลิต ซึ่งโรงงานจำพวกนี้จะเป็นต้องดำเนินการขอใบอนุญาตก่อนถึงจะสร้างโรงงานได้ หากโรงงานของคุณเข้าข่ายโรงงานจำพวกที่ 3 ต้องขอใบอนุญาตก่อนครับ ซึ่งจะต้องผ่าน 4 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้ ยื่นเอกสารดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ยื่นคำขอรับใบอนุญาต (แบบ ร.ง.3) และเอกสารรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เจ้าหน้าที่รับคำร้องและพิจารณาความถูกต้องของเอกสารรวมถึงสถานที่ตั้งโรงงาน เจ้าหน้าที่แจ้งผลการพิจารณา หากคุณสามารถผ่านการพิจารณาจากเจ้าหน้าที่ก็สามารถจัดตั้งโรงงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และดำเนินการต่างๆ ได้เลยทันที

การคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง

อีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญของการทำโรงงานนั่นก็คือการก่อสร้าง ผู้รับเหมาที่ไว้ใจได้จึงสำคัญที่สุด ในการคัดเลือกนั้น แนะนำว่าให้เลือกผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ในการสร้างโรงงานก่อนเป็นอันดับแรก เพราะการสร้างโรงงานนั้น ไม่ได้มีโครงสร้างเหมือนกับอสังหาริมทรัพย์ทั่วไป ผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ด้านนี้จึงสามารถทำได้ดีกว่า คำนึงถึงผลกระทบในระยะยาวที่ไม่ต้องมากังวลถึงปัญหาด้านโครงสร้างในอนาคต ไม่ต้องมาตามแก้ปัญหาจุกจิกที่ผู้รับเหมาอาจดำเนินการพลาด

หุ้นส่วนที่ดี

แม้ว่าการสร้างโรงงานจะไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินฝัน แต่ก็มีรายละเอียดยิบย่อยให้คุณได้ต้องจัดการอีกเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงสร้างตัวอาคาร การจัดหาสถานที่ที่เหมาะสม ต้นทุน การดำเนินเรื่องขอใบอนุญาต การจัดหาซื้ออุปกรณ์ที่เหมาะสม รวมถึงการดูแลคุณภาพโรงงานให้ได้มาตรฐาน หากคิดว่าปัญหาเหล่านี้จัดการเพียงคนเดียวไม่ไหว การหาหุ้นส่วนมาเป็นพาร์ทเนอร์จะช่วยแบ่งเบาภาระจากบ่าลงไปได้มาก มีเพื่อนคู่คิด ย่อมดีกว่าคิดอยู่คนเดียวแน่นอน การมีพาร์ทเนอร์ที่ดีจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ดีขึ้น มีคนช่วยในเรื่องดำเนินการต่างๆ อีกทั้งยังเป็นพลังสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจด้วยการทำโรงงานให้ใกล้ความจริงได้มากยิ่งขึ้น

โรงงานมาตารฐาน (GMP.HACCP.ISO) ต้องเป็นอย่างไร

ไม่ว่าจะเป็น การสร้างโรงงานผลิตอาหาร สร้างโรงงานครัวกลาง/อาหารเสริม/อาหารแช่แข็ง/อาหารสัตว์/ยา/ครีม/สบู่/แชมพู, เครื่องสำอาง, โรงงานผลิตผลิตเบเกอรี่/ขนมปัง/ขนมขบเคี้ยว/น้ำดื่ม/เครื่องดื่ม/กาแฟ/นม/โยเกิร์ต/ผลิตไอศครีม/ผลิตผักผลไม้อบแห้ง,น้ำจิ้ม,ซอส,เครื่องปรุง/ผลิตอาหารสำเร็จรูป ปลากระป๋อง/ผลิตไส้กรอก/แพ็คอาหาร และ สินค้าทุกประเภท ที่มีความเกี่ยวข้องกับวงการ อาหาร และ ยา ต้องศึกษาเรื่องของ GMP.HACCP.ISO แต่ในปัจจุบันมีทีมที่ปรึกษาในด้านนี้โดยตรงมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญของทางผู้รับเหมาก่อสร้างเอง และเจ้าของโรงงานสามารถจัดจ้างมาเพื่อดูแลตั้งแต่เริ่มออกแบบโรงงานเพื่อให้การขออนุญาตเป็นไปอย่างราบรื่นนั้นเอง โดยต้องมีเรื่องไหนบ้าง

  • สถานที่ตั้งตัวอาคารควรอยู่ในทำเลที่เหมาะสม แยกเป็นสัดส่วนจากบริเวณที่อยู่อาศัย
  • อาคารสถานที่ผลิตต้องออกแบบ และก่อสร้างให้เหมาะสม จัดให้มีพื้นที่มากเพียงพอที่จะติดตั้งเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตพื้น ฝาผนัง และเพดานของอาคารควรทำด้วยวัสดุที่คงทน พื้นผิวเรียบ ไม่ขรุขระ ไม่มีรอยแตกและสะดวกต่อการทำความสะอาดและบำรุงรักษาง่าย
  • จัดให้มีแสงสว่าง ตามข้อกำหนดมาตรฐานการผลิต และการระบายอากาศที่เหมาะสมเพียงพอสำหรับการปฏิบัติงานภายในอาคารสถานที่ผลิต
  • จัดให้มีการป้องกันสัตว์ และแมลงไม่ให้เข้าในบริเวณสถานที่ผลิต
  • มีห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ห้องน้ำ ห้องส้วม ให้เหมาะสมกับจำนวนพนักงาน
  • ห้องหรือบริเวณผลิต และบรรจุ ต้องมีขนาดเหมาะสม ไม่เป็นทางผ่านไปยังบริเวณอื่น ภายในห้องจัดให้มีโต๊ะสำหรับทำงานที่เหมาะสม
  • ห้องหรือบริเวณเก็บวัตถุดิบจะต้องแห้ง สะอาด มีการควบคุมอุณหภูมิความชื้น ตามความจำเป็น
  • จัดให้มีบริเวณที่เป็นสัดส่วน สำหรับกักกันวัตถุดิบ วัสดุการบรรจุ รอการบรรจุ
  • มีสถานที่เฉพาะสำหรับเก็บวัตถุไวไฟ วัสดุที่ระเบิดง่าย วัตถุมีพิษ วัสดุการบรรจุ
    ที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือสินค้าที่เรียกคืนจากลูกค้า
  • จัดให้มีสถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการวิเคราะห์คุณภาพวัตถุดิบ สินค้ารอการบรรจุ ในกรณีที่ไม่สามารถจัดสถานที่และทำการวิเคราะห์ได้ อย่างน้อยจะต้องมีหลักฐานแสดงการวิเคราะห์จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้
  • การสุขาภิบาล (Sanitation) สถานที่ผลิตจะต้องมีระบบการควบคุมดูแลในเรื่องการรักษาความสะอาดอย่างถูกจะต้องจัดให้เป็นระเบียบ สะอาด ปราศจากสิ่งสกปรกและสัตว์ซึ่งเป็นพาหะของโรค
  • ไม่กระทำการใดๆที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นต้นว่า รับประทานอาหาร สูบบุหรี่ เก็บอาหารหรือเครื่องดื่ม และเก็บสิ่งของที่ไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าไว้ภายในสถานที่
  • จัดให้มีห้องส้วม และอ่างล้างมือสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ห้องส้วมต้องถูกสุขลักษณะ มีอุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับทำความสะอาด และฆ่าเชื้อตามความจำเป็น
  • ควรมีมาตรการที่ดีในการควบคุมของเสีย วัตถุอันตราย มลสารอื่นๆรวมทั้งกาก ตะกอนหรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้น ที่ถูกปล่อยออกจากสถานที่ผลิต ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็นพิษต่อสุขอนามัยของประชาชนตามพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
  • จัดให้มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยที่มีฝาปิด ในจำนวนที่เพียงพอ และมีระบบกำจัดขยะมูลฝอยที่เหมาะสม ตามข้อกฎหมาย
  • จัดให้มีระบบระบายน้ำทิ้ง และสิ่งโสโครกในลักษณะที่เหมาะสม ตามข้อกฎหมาย
  • จัดให้มีมาตรการเพื่อความปลอดภัย มีทางออกฉุกเฉินให้เพียงพอกับจำนวนคนงาน พร้อมทั้งมีป้ายแสดงทางออกที่เห็นได้ง่าย ตามข้อกฎหมาย
  • มีสัญญาณแจ้งเหตุอันตรายทั่วโรงงานตามข้อกฎหมาย
  • มีเครื่องดับเพลิงหรือสิ่งอื่นที่ใช้ในการดับเพลิงจำนวนเพียงพอแก่สภาพตลอดจนจัดให้มีการป้องกันอัคคีภัยโดยวิธีอื่นด้วย ตามข้อกฎหมาย
  • มีสถานที่และอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับใช้ในการปฐมพยาบาล

บทความที่เกี่ยวข้อง :

Build a factory to reduce costs สร้างโรงงานเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน

BMPLC New Factory Project 10,000 sq.m.

EPOXY FLOOR vs PU FLOOR เคลือบพื้นแบบไหนทนทานเหมาะกับโรงงาน คลังสินค้าของคุณ

E-commerce Warehouse ก้าวเป็นผู้นำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ต้องมีคลังสินค้า โกดัง แบบไหน

Bonded Warehouse เจาะลึกคลังสินค้าทัณฑ์บน สินค้านำเข้าส่งออกปลอดภาษีจริงไหม?

Feng Shui ต้องรู้ฮวงจุ้ยอาคาร คลังสินค้า โกดัง ให้ธุรกิจรุ่งเรือง เงินไหลมาเทมา

Skylight หลังคาคลังสินค้า โรงงาน แบบไหนประหยัด เพิ่มกำไรให้ธุรกิจ

คุยกับวิศวกร | EP.8 | ตอบทุกคำถาม บอกทุกขั้นตอน ทำอย่างไรให้ได้มาตรฐาน GMP

https://www.youtube.com/watch?v=UL-MCBc7xZ8

Factory owner เป็นเจ้าของโรงงาน ไม่ยากอย่างที่คิด เป็นอย่างไรกับเนื้อหาที่เรารวบรวมมาฝากกัน สำหรับเจ้าของกิจการ นักลงทุนที่กำลังมีแผนการสร้างโรงงานเป็นของตัวเองหรือแม้แต่การสร้างโรงงานให้เช่า ได้ไอเดียในการสร้างโรงงาน ไม่มากก็น้อย รวมไปถึงบทความที่เกี่ยวข้อง ให้อ่าน ครบจบที่เว็บไซต์ของเราเช่นกัน อยากสร้างโรงงาน ต้องปรึกษาทีมวิศวกร ผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีความเชี่ยวชาญมีประสบการณ์ก่อสร้างโรงงาน มีทีมผู้เชี่ยวชาญตรงตามประเภทของโรงงานที่จะก่อสร้าง ให้การขยายธุรกิจ เป็นเจ้าของโรงงานของคุณครั้งนี้ชิว ง่าย สะดวก สบายกว่าครั้งไหน

Source : https://www.tot.co.th/sme-tips/SME-tips/2020/08/10/want-to-have-a-factory, https://www.thaihomeonline.com/