ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกสร้างคลังสินค้าในนิคมอุตสาหกรรม เพราะมีปัจจัยสนับสนุนธุรกิจหลายประการ เช่น แหล่งวัตถุดิบ (Resources), แหล่งแรงงาน (Labour), ที่ตั้งของตลาด (Market), ที่ดิน (Land), การขนส่ง (Transport), พลังงาน (Power), สาธารณูปโภค (Utilities), นโยบายของรัฐบาล (Government Policy) และปัจจัยอื่น ๆ (Other)

สร้างคลังสินค้า ในนิคมอุตสาหกรรม ดีหรือไม่

คลังสินค้า (Warehouse) อาคารที่ใช้เก็บรักษาหรือรับฝากสินค้าระหว่างรอการเคลื่อนย้าย เพื่อสนับสนุนการผลิต กรณีจัดเก็บวัตถุดิบส่วนประกอบและชิ้นส่วนต่างๆ และการกระจายสินค้า กรณีจัดเก็บสินค้าสำเร็จรูป ให้กับผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทานและลูกค้า ธุรกิจให้บริการคลังสินค้าให้เช่าจึงเป็นบริการหนึ่งในกิจกรรมการบริหารงานด้านโลจิสติกส์ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจต่างๆ ทั้งกระบวนการผลิตการค้าและการขนส่ง

คลังสินค้าให้เช่าในไทยกว่า 95% ของจำนวนคลังสินค้าให้เช่าทั่วประเทศเป็นคลังสินค้าแบบดั้งเดิม (Traditional warehouse) ที่เน้นให้เช่าพื้นที่คลังสินค้าและให้บริการระบบสาธารณูปโภค/สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ถนนไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ระบบรักษาความปลอดภัย เป็นต้น

บริษัทรับเหมาสร้างคลังสินค้า ในนิคมอุตสาหกรรม

ทิศทางการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม

ปัจจุบันเริ่มมีผู้ประกอบการบางส่วนปรับรูปแบบคลังสินค้าดั้งเดิมให้เป็นคลังสินค้าสมัยใหม่ที่ออกแบบอาคารให้เอื้อต่อระบบโลจิสติกส์ครบวงจร และนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคลังสินค้า อาทิ ระบบจัดเก็บระบบตรวจนับ และระบบตรวจสอบสินค้าคงคลัง รวมทั้งมีระบบขนถ่ายสินค้าและบรรจุหีบห่อสินค้าอัตโนมัติ ทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้จากการให้บริการด้านอื่นๆ เพิ่มขึ้น

บริษัทรับเหมาสร้างคลังสินค้า ในนิคมอุตสาหกรรม

มาตรฐานคลังสินค้าสมัยใหม่

นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงโครงสร้างอาคารให้ได้มาตรฐานมากขึ้นโดยบางแห่งมีการลงทุนพัฒนาระบบอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร เช่น มาตรฐาน LEED: Leadership in Energy and Environmental Design และวางโครงสร้างอาคารที่คำนึงถึงการป้องกันภัยพิบัติ (เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว) ซึ่งเป็นกระแสความต้องการของผู้เช่าในปัจจุบัน

สำหรับพื้นที่การลงทุนที่นักลงทุนต่างให้ความสนใจเข้าไปลงทุนในช่วงที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเป็น นิคมฯ ร่วมดำเนินการในพื้นที่ภาคตะวันออกซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่อีอีซี เช่น นิคมฯ อมตะซิตี้ ชลบุรี นิคมฯ ดับบลิวเอชเออีสเทิรน์ ซีบอร์ด ระยอง นิคมฯ อมตะซิตี้ ระยอง นิคมฯ ดับบลิวเอชเอ ชลบุรี และ นิคมฯ ปิ่นทอง

ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเหล็กโลหะภัณฑ์ ซึ่งปัจจุบัน กนอ.มีนิคมฯ จำนวน 54 แห่ง ใน 16 จังหวัด

พื้นที่สร้างคลังสินค้าในนิคมอุตสาหกรรม

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกที่ตั้งโรงงาน

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกที่ตั้งโรงงาน คลังสินค้า อาทิ แหล่งวัตถุดิบ (Resources), แหล่งแรงงาน (Labour), ที่ตั้งของตลาด (Market), ที่ดิน (Land), การขนส่ง (Transport), พลังงาน (Power), สาธารณูปโภค (Utilities), นโยบายของรัฐบาล (Government Policy) และปัจจัยอื่น ๆ (Other) การเลือกที่ตั้งโรงงาน คลังสินค้า ในนิคมอุตสากรรม มีความได้เปรียบและความเสียเปรียบของการเลือกทำเลคลังสินค้าและโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง

ปัจจัยสนับสนุน

  • พื้นที่ได้รับการตระเตรียมเรียบร้อยแล้ว สิ่งอำนวยความสะดวกพร้อม
  • ไม่มีปัญหาการสร้างความเดือดร้อนให้ชุมชน
  • สถาบันการเงิน และการขนส่งพร้อม
  • แรงงานสัมพันธ์ในนิคมมักจะดี

ปัจจัยด้านข้อจำกัด

  • เนื้อที่จำกัดจึงจำกัดการขยายตัวของโรงงาน ที่จะเกิดขึ้น
  • โรงงานใกล้กันมีปัญหาแรงงาน อาจเป็นชนวนให้เกิดปัญหาในอีกโรงงาน
  • อาจเกิดปัญหาจราจรในชั่วโมงเร่งด่วน

อย่างไรก็ตามนักลงทุนจำเป็นต้องพิจารณาแนวโน้มของเศรษฐกิจ และอื่นๆ ประกอบการตัดสินใจทั้งปัจจัยภายใน และภายนอกในการสร้างคลังสินค้า โรงงานเพื่อให้ตอบโจทย์ต่อการประกอบธุรกิจให้มากที่สุดและให้ความสำคัญในเรื่องความประหยัดงบประมาณและการคืนทุนในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ

แชร์ประสบการณ์สร้างคลังสินค้าเกษตร

สัมภาษณ์คุณศักดิ์ศิริ เลิศบรรลือชัย ผู้บริหาร บริษัท รุ่งนิรันดร์เคมีเกษตร จำกัด จ.พะเยา ตัวแทนจำหน่ายสินค้าเกษตร และเคมีเกษตรรายใหญ่ของ จ.พะเยา ต้องการสร้างคลังสินค้าแห่งใหม่บนพื้นที่ 3,300 ตร.ม. ในระยะเวลา 120 วัน