Void & Window for Architectural งานออกแบบหน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม เพื่อรับแสง ถ่ายเทอากาศ และประหยัดพลังงาน

เข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับประเทศไทย วันนี้เรามีทางเลือกสำหรับการออกแบบอาคารสำนักงาน ที่พักอาศัยมาฝากกันสำหรับประเทศไทยที่มีอากาศร้อนมาก การออกแบบสร้างอาคารให้สอดรับกับธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ออกแบบหน้าต่าง หรือ ช่องเปิดนั้น เพื่อรับลม และแสงอย่างเหมาะสม ลดความร้อน ออกแบบหน้าต่าง หรือ ช่องเปิดนั้น เพื่อรับลม ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการออกแบบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลักการออกแบบช่องเปิด หรือ ตำแหน่งหน้าต่างในงานสถาปัตยกรรม เพื่อถ่ายเทอากาศ และช่วยประหยัดการใช้พลังงานภายในอาคารอย่างไรบ้าง

Photo : officesnapshots.com

ถ้าหากอาคารหลังนั้นๆ ได้ออกแบบหน้าต่างช่องเปิดมาอย่างเหมาะสมก็จะทำให้บรรยากาศภายในอาคารมีความสว่างที่พอดี และมีลมถ่ายเท ระบายอากาศได้อย่างปลอดโปร่ง และช่วยประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคาร แต่ถ้าหากออกแบบหน้าต่าง หรือช่องเปิดผิดไปจากหลักการออกแบบที่เหมาะสม หรือ ไม่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับบริบทการใช้งานของอาคาร ก็จะทำให้มีบรรยากาศที่ไม่ดี ไม่สามารถระบายอากาศได้อย่างสะดวก จึงทำให้รู้สึกอึดอัด และทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวในระหว่างอยู่อาศัย ซึ่งการจะออกแบบช่องเปิดให้สัมพันธ์กับบริบทอาคาร และมีความเหมาะสมลงตัวกับลักษณะการใช้งาน

ทิศที่ควรหลีกเลี่ยงการเจาะช่องเปิด หรือ ช่องหน้าต่าง

– ในทิศใต้ และทิศตะวันตก สามารถมีหน้าต่าง หรือ ช่องเปิด ไม่ควรเกิน 20% ของพื้นที่ระนาบผนังทั้งหมด ในด้านทิศใต้ และทิศตะวันตก จะเป็นด้านที่ได้รับผลกระทบจากความร้อนและแสงจ้าค่อนข้างมาก ฉะนั้นการออกแบบตำแหน่งของหน้าต่าง หรือ ช่องเปิดภายในอาคารควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งในทิศนี้ให้มากที่สุด

ทิศที่สามารถเจาะช่องเปิด หรือ ช่องหน้าต่าง ได้อย่างเหมาะสม

– ในทิศเหนือ และทิศตะวันออก สามารถมีหน้าต่าง หรือ ช่องเปิด ได้ตั้งแต่ 50-75% ของพื้นที่ระนาบผนังทั้งหมด

สำหรับการติดตั้งหน้าต่างช่องเปิดควรติดตั้งในทิศตะวันออก และทิศเหนือ  โดยออกแบบให้หน้าต่าง หรือช่องเปิดที่มีขนาดเท่ากันอยู่ตรงข้ามกันเพื่อให้ลมพัดผ่านถ่ายเทได้ตลอดเวลา ซึ่งช่วยให้บรรยากาศภายในห้องมีความปลอดโปร่ง ให้ความสว่างที่เหมาะสม และไม่ก่อให้เกิดการสะสมเชื้อโรคจากความอับทึบ

การวางตำแหน่งอาคารให้สัมพันธ์กับทิศทางแดด และกระแสลม

เพราะอาคารจะต้องอยู่คู่กับเราไปอีกหลายสิบปี ฉะนั้นควรวางแผนในการออกแบบให้ดีเพื่อให้เกิดสภาวะน่าสบายตลอดอายุการใช้งานของตัวอาคาร

– ทิศตะวันตก และทิศใต้จะได้รับผลกระทบจากแสงแดดที่รุนแรงเป็นเวลา 8-9 เดือนต่อปี เพราะมุมของแสงแดดที่ส่องนั้นเป็นมุมต่ำที่สามารถเข้าสู่อาคารได้ง่าย เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการสร้างอาคารที่หันไปในทิศตะวันตก และทิศใต้  โดยออกแบบให้พื้นที่ในทิศดังกล่าวเป็นส่วนหลังอาคารนั้นเอง

– ทิศเหนือ และทิศตะวันออก จะเป็นทิศที่ได้รับลมมากที่สุด และโดนแสงแดดน้อยที่สุดตามลำดับ จึงเหมาะที่ออกแบบให้พื้นที่ในทิศดังกล่าวเป็นฟังก์ชั่นการใช้งานที่ต้องใช้เวลาอาศัยอยู่เกือบทั้งวัน หรือ เป็นฟังก์ชั่นการใช้งานที่ต้องการความผ่อนคลายมุมพักผ่อน ทำงาน

การศึกษาตำแหน่งและทิศทาง แสงแดดและลม ก่อนการออกแบบก่อสร้างอาคารนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญ การอยู่ร่วมกับธรรมชาตินั้นช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้หลายมิติและสร้างเสน่ห์ให้กับอาคารได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถใช้งานฟังก์ชั่นของอาคารได้ออกมาเต็มรูปแบบนั้นเอง โดยสถาปนิก และวิศวกรจะเลือกโครงสร้างและวัสดุมาออกแบบให้อาคารออกมามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว การสร้างสถาปัตยกรรมที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน และการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายในอาคารเป็นไปอย่างสะดวกสบาย ไม่อึดอัด

Data : www.wazzadu.com, www.thisoldhouse.com

Cover Photo : www.banidea.com