การก่อสร้างอาคารในปัจจุบัน นิยมที่เลือกใช้ พื้น  Post Tension ทำให้การก่อสร้างมีความรวดเร็วและสามารถลดต้นทุนการก่อสร้างได้ อาทิเช่น มีจุดเด่นในการจัดสรรพื้นที่ใช้สอยได้ง่ายและสวยงาม สามารถจัดแบ่งพื้นที่ใช้งานได้อย่างอิสระ โครงสร้างที่น้อยกว่าสามารถลดค่าก่อสร้างของงานฐานรากลง ลดต้นทุนและระยะเวลาในการก่อสร้าง ประหยัดพื้นที่ในการเก็บวัสดุ สามารถก่อสร้างในพื้นที่จำกัดได้ ทำให้สามารถลดระยะเวลาก่อสร้างต่อชั้นได้ นอกเหนือจากจุดเด่นแล้วมีรายละเอียดไหนบ้างที่ต้องให้ความสำคัญหากเลือกใช้ พื้น  Post Tension ก่อสร้างเร็ว ลดต้นทุน – Next Plus Engineering

พื้น Post Tension คืออะไร

พื้น Post Tension การก่อสร้างแบบใช้คอนกรีตอัดแรงกำลังสูง พื้น Post Tension โดยทั่วไปคือระบบพื้นคอนกรีตที่มีเหล็กเส้นที่รับแรงดึงได้มาก ๆ เสริมอยู่ภายใน และทำการดึงเส้น เหล็กนั้นให้ตึงเมื่อหล่อคอนกรีตเสร็จแล้ว เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของพื้น การที่มีเหล็กแรงดึงดูดเสริมและดึงอยู่ในพื้นคอนกรีตนี่เอง ทำให้โครงสร้างชนิดนี้มีหน้าตัดที่บางลง และไม่จำเป็นต้องมีคานมารัดหัวเสาเพื่อการถ่ายน้ำหนัก จากพื้นสู่เสาด้วย ราคาค่าก่อสร้างหลายอาคารก็ถูกลง และยังลดความสูงระหว่างชั้นได้ด้วย พื้นระบบ Post Tension คือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรง ที่จะมีการดึงเหล็กเส้นที่อยู่ในคอนกรีตภายหลังเทคอนกรีตแล้วเสร็จ เพื่อให้โครงสร้างสามารถรับแรงได้มากกว่าปกติ จนทำให้โครงสร้าง พื้นเห็นเป็นเพียงแผ่นคอนกรีตบางๆ (20-28 ซม.) ไม่มีคานมารับตามช่วงเสา ทำให้พื้นระบบ Post Tension (สะดวกกว่าระบบมีคาน) และลดค่าใช้จ่ายในงานโครงสร้างได้ พอสมควรทีเดียว

เนื่องจากพื้น Post-Tension เป็นระบบพื้นซึ่งดึงลวดอัดแรง จึงจำเป็นต้องร้อยลวดอัดแรงไว้ในท่อ Galvanized เพื่อไม่ให้คอนกรีตจับตัวกับลวดอัดแรง แบ่งออกเป็น 2 ระบบ ที่มีลักษณะต่างกันดังนี้

  1. Bonded System เป็นระบบมีแรงยึดแหนี่ยว ระหว่าง PC Strand กับพื้นคอนกรีตโดยหุ้มด้วยท่อเหล็กที่ขึ้นเป็นลอน ประกอบด้วย Multi Strand ท่อ 1 ท่อร้อยด้วยลวด 2, 3, 4 หรือ 5 เส้น ท่อ เป็นท่อ Galvanized Duct Anchorage 1 set / ลวด 2, 3, 4 หรือ 5 เส้น ต้องมีการอัดน้ำปูนเข้าไปให้เต็มท่อหลังการดึงลวด (GROUTING) เพื่อให้จับยึดระหว่าง PC Strand กับท่อเหล็ก จะใช้กับอาคารที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน และโครงสร้างขนาดใหญ่
  2. UnBonded System เป็นระบบไม่มีแรงยึดแหนี่ยว ระหว่าง PC Strand กับพื้นคอนกรีต แต่จะยึดที่บริเวณหัว Anchorage ที่ปลายพื้นทั้ง 2 ข้างเท่านั้น ประกอบด้วย Mono Strand ท่อ 1 ท่อ ร้อยด้วยลวด 1 เส้น ท่อ เป็นท่อ PE. Anchorage 1 set / ลวด 1 เส้น ลวดเคลือบด้วยจารบี ระบบนี้ไม่เหมาะสำหรับอาคารที่จะมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้ งานในอนาคต ระบบนี้มักใช้กับอาคารที่จอดรถ หรืออาคารขนาดเล็กที่มักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้งาน

อ้างอิง : snp.posttension

ขั้นตอนการทำงาน พื้น Post Tension

  • ขั้นตอนการทำงานจะเริ่มจากการเข้าแบบท้องพื้นเนื่องจากระบบพื้น Post คือพื้นที่ไร้คาน จึงง่ายต่อการเข้าแบบจึงมีการออกแบบ Form work ท้องพื้นที่สะดวก รวดเร็ว และสามารถใช้ง่านได้หลายครั้ง เรียกว่า Table Form แบบตั้งโต๊ะนั่งร้านโดยมีตัวปรับระดับและล้อเลื่อน
  • จากนั้นปรับระดับท้องพื้นให้ได้ ก็ทำการวางเหล็กและเข้าแบบด้านข้างของพื้น เมื่อเทคอนกรีตเสร็จและได้อายุคอนกรีต เราสามารถลดระดับของแบบแล้วเข็นออกทำการใช้เครนยกขึ้นไปใช้งานชั้นต่อไปได้เลยโดยไม่ต้องตั้งนั่งร้านใหม่ ถือเป็นจุดเด่นของพื้น Post เลยทีเดียวนี่เป็นสาเหตุให้การก่อสร้างอาคารสูงต่าง ๆ เป็นไปได้ไวมากขึ้น
  • ขั้นตอนต่อมาหลังจากเข้าแบบแล้วให้เราทำการวางเหล็กเสริมล่างของพื้น และตามหัวเสา,ช่องเปิดต่าง ๆ ที่มีเหล็กเสริมด้านล่างทั้งหมด หลังจากนั้นทำการวางสลิง และยึดขาระดับตามค่า Profile ในแบบ หลังการวางสลิงสิ่งที่ควรตรวจสอบคือ ระดับของสลิง , ความสมบูรณ์ของปอกสลิงต้องไม่ขาดไม่รั่ว โดยปกติรอยต่อจะใช้เทปกาวพันให้แน่นและรอยรั่วต่าง ๆ  การทับซ้อนของสลิงแต่ละจุดว่าในแบบอันไหนอยู่บนหรือล่าง , จุดดึงต้องกันแบบไม่ให้น้ำปูนเข้าในปอกสลิง และยึดให้แน่นแข็งแรงไม่ขยับเมื่อมีการจี้คอนกรีตตอนเทคอนกรีตและจุดตายของสลิงต้องมีการเสริมเหล็กและระยะจำนวนเส้นของสลิงตามแบบ
  • เมื่อเสริมสลิงเสร็จทำการวางเหล็กเสริมด้านบนตามแบบและเชื่อมเหล็กระดับอ้างอิงในการเทคอนกรีตเป็นช่วง ๆ เพื่อใช้ในการปาดปูนและดำเนินการเทคอนกรีตปกติพื้นประเภท Post จะใช้การยิงปั๊มคอนกรีต จุดสำคัญของการยิงปรับคือนั่งร้านช่วงท่อปั๊มต้องตรวจสอบความแข็งแรงให้ดีเพราะจะมีแรงกระแทกมากจากแรงดันของปูนในปั๊ม และก่อนการยิงปั๊มคอนกรีตต้องสั่งปูนมอร์ต้ามายิงใส่ท่อก่อนเพื่อให้คอนกรีตไม่ฝืดในท่อปั๊มและการเผื่อสลัมป์ของคอนกรีตในการยิงเพื่อป้องการคอนกรีตที่หนืดไปค้างท่อปั๊มและการปล่อยปูนให้เตรียมคนงานเกลี่ยปูนอย่าให้กองที่เดียวกันมาก น้ำหนักคอนกรีตเยอะจะทำให้นั่งร้านพังได้ เมื่อทำการเทคอนกรีตปาดระดับเรียบร้อย ก็ทำผิว finishing ตามแบบ หลังการเทคอนกรีตก็ทำการบ่มคอนกรีตตามมาตรฐานจากนั้นหลังการเทประมาณ 3 วันขึ้นอยู่กับ Strength ของคอนกรีต เมื่อคอนกรีตรับแรงได้มากกว่า 75% ก็ทำการดึงสลิงด้วยเครื่องไฮโดรริค

อ้างอิง :  http://ozone7th.blogspot.com/2014/08/post-tension.html

ข้อดีของระบบพื้นไร้คาน

  • จัดสรรพื้นที่ใช้สอยได้ง่ายและสวยงาม สามารถจัดแบ่งพื้นที่ใช้งานได้อย่างอิสระ เนื่องจากไม่มีคานเป็นตัวกำหนดแนวของผนัง ทำให้มีความสวยงามของงานระบบ เนื่องจากท้องพื้นเรียบไม่มีคานมากีดขวางแนวท่อหรืองานระบบต่างๆ สามารถออกแบบอาคารที่มีระยะห่างระหว่างเสาห่างมากขึ้นได้ ทำให้ภายในอาคารดูกว้างขวางสวยงาม
  • โครงสร้าง มีความหนาของพื้น Post-Tension ที่น้อยกว่าพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก (RC Slab) ทำให้มีน้ำหนักโดยรวมที่น้อยกว่า จึงสามารถลดค่าก่อสร้างของงานฐานรากลงได้ ในการออกแบบได้คำนึงถึงความต้านทานไฟไหม้ของพื้น Post-Tension โดยเลือกจำนวนชั่วโมงที่จะทนทานไฟไหม้ PTI ได้แนะนำไว้ และความสูงโดยรวมของอาคารน้อยกว่าพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก (RC Slab) ในกรณีที่อาคารมีจำนวนชั้นที่เท่ากัน จึงทำให้รับแรงลมและแรงแผ่นดินไหวน้อยกว่า
  • ลดต้นทุนและระยะเวลาในการก่อสร้าง ความสูงระหว่างชั้นลดลง ทำให้สามารถสร้างอาคารจำนวนชั้นที่มากกว่าในความสูงที่เท่ากัน ประหยัดพื้นที่ในการเก็บวัสดุ สามารถก่อสร้างในพื้นที่จำกัดได้ จากความสูงระหว่างชั้นที่ลดลง ทำให้ทางขึ้นลงของพาหนะมีระยะที่สั้นจึงสามารถจัดพื้นที่จอดรถได้มากขึ้น และที่สำคัญสามารถลดระยะเวลาก่อสร้างต่อชั้นโดยที่ระยะเวลาก่อสร้างพื้น Post-tension อยู่ที่ 7-10 วันต่อชั้น

อ้างอิง :  http://www.gel.co.th/th/post-tension-slab

ตัวอย่างโครงการ ที่ใช้การก่อสร้าง พื้น Post Tension อาคารสำนักงาน เดอะเบสท์ พร็อพเพอร์ตี้ เอเจนท์ สถานที่ : จ.สมุทรปราการ  

ลิงค์เข้าชมผลงาน :  https://www.nextplus.co.th/under-construction/the-best-property-samutprakan

ข้อกำหนดสำหรับวัสดุงานพื้นคอนกรีตอัดแรงในที่

  1. คอนกรีต (Concrete) ค่ากำลังอัดคอนกรีตทรงกระบอก ไม่น้อยกว่า 240 กก./ตร.ซม. ในขั้นตอนการอัดแรง และ ไม่น้อยกว่า 320 กก./ตร.ซม. ที่อายุ 28 วัน
  2. ลวดอัดแรงกำลังสูง (PC Strand) เป็นชนิด Seven – Wire Stress – Relieved Uncoated Strand Grade 270k Low Relaxation ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12.7 มม. (1/2นิ้ว) ตามมาตรฐาน ASTM A-416 และ มอก. 420-2540
  3. ท่อร้อยลวดอัดแรง ( Bonded Tendon) ท่อร้อยลวด จะต้องแข็งแรงเพียงพอในการรับแรงสะเทือนขณะทำการเทและจี้คอนกรีต ในขั้นตอน Grouting ต้องใช้ Portland Cement Type I
  4. สมอยึด (Anchorage) สมอยึดลวดอัดแรง จะต้องมีกำลังยึดลวดอัดแรงไม่น้อยกว่า 95% ของแรงดึงประลัยระบุของลวดอัดแรงกำลังสูง และต้องสามารถยึดลวดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดอายุการใช้งานของโครงสร้าง

อ้างอิง :  http://www.gel.co.th/th/post-tension-slab

จากข้อมูลข้างต้น น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการตัดสินใจการก่อสร้างอาคาร พื้น  Post Tension ที่ทำให้ก่อสร้างมีความรวดเร็วและสามารถลดต้นทุนการก่อสร้างได้ ไม่ว่าจะเป็นอาคารเพื่อที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์ คุณภาพ ความปลอดภัย ต้นทุน ระยะเวลาในการก่อสร้าง ขั้นตอนการดำเนินงาน ทุกปัจจัยมีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะได้งานสถาปัตยกรรมที่สวยงามและมีคุณภาพตามมาตรฐานวิศวกรรม  บริษัท เน็กซ์พลัส เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด รับออกแบบพร้อมก่อสร้างอาคาร โดยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญ พร้อมให้คำปรึกษา วางแผนงาน ออกแบบ 3D ให้เห็นภาพชัดเจน เรามีทีมวิศวกร และสถาปนิกที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โครงสร้างอาคารที่ได้รับมาตรฐานวิศวกรรม มีความแข็งแรง งานออกแแบบพร้อมก่อสร้างอาคารที่มีฟังก์ชั่นตามความต้องการของลูกค้า ให้ได้รับความพึงพอใจอย่างสูงสุด เพราะ “คุณภาพของงาน คือบริการของเรา”