พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้ก่อนสร้างโรงงาน หรือ คลังสินค้า เพื่อขอใบอนุญาตก่อสร้าง ให้โรงงานแต่ละประเภท ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33

พรบ. ควบคุมอาคาร คืออะไร

พรบ. ควบคุมอาคาร จะแบ่งแยกเป็นหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น การสร้างบ้าน การสร้างอาคาร คลังสินค้า หรือการสร้างถนนหนทาง ฯลฯ โดยจะอ้างอิงจากพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด หรือกฎหมายควบคุมอื่นๆ หลักๆ สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างคลังสินค้า หรือ โรงงาน จำเป็นต้องพิจารณาดังนี้

  1. ต้องพิจารณากฎหมายผังเมืองรวม โซนสีม่วง เป็นพื้นที่ที่ท่านจะ ก่อสร้างคลังสินค้า หรือโรงงานได้
  2. พิจารณาข้อบัญญัติท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ที่ท่านมีความประสงค์จะก่อสร้าง ซึ่งมีข้อกำหนดดังนี้
    ที่ดินประเภท อ.1 – กำหนดเป็นเขตอุตสาหกรรม เพื่อการบริหารและจัดการ สิ่งแวดล้อม สำหรับการประกอบกิจการประเภทอุตสาหกรรมการผลิตที่มีมลพิษน้อย
    ที่ดินประเภท อ.2 – กำหนดเป็นนิคมอุตสาหกรรม ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรม ที่ดินประเภทนี้ ให้ใช้ประโยชน์เพื่ออุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละสิบ และห้ามใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อกิจการตามที่กำหนด
  3. พิจารณาตามกฎหมายควบคุมอาคารเป็นหลัก เช่น กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 2522 ข้อ 38
    • ข้อ 38 คลังสินค้าที่มีพื้นที่ของอาคารทุกชั้นรวมกันตั้งแต่ 100 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 500 ตารางเมตร ต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้าง อาคารนั้นไม่น้อยกว่า 6 เมตรสองด้าน ส่วนด้านอื่นต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 3 เมตร
    • คลังสินค้าที่มีพื้นที่ของอาคารทุกชั้นรวมกันเกิน 500 ตารางเมตร ต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารนั้นไม่น้อยกว่า 10 เมตร สองด้าน ส่วนด้านอื่นต้องมีที่ว่างห่างจากแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 5 เมตร”
  4. พิจารณาตามกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายเรื่องสิ่งแวดล้อม กฎหมายควบคุมอาคาร หรือ กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษ
โครงการก่อสร้างโรงงานกระดาษ จ. เพชรบุรี และ โดยอ้างอิง พรบ. ควบคุมอาคาร

โครงการก่อสร้างโรงงานกระดาษ จ. เพชรบุรี โดยอ้างอิง พรบ. ควบคุมอาคาร

กฎหมายควบคุมอาคาร คืออะไร

กฎหมายที่ว่ากันด้วยเรื่องเกี่ยวกับแนวอาคารและระยะร่นอาคาร การสร้างคลังสินค้าในแต่ละครั้งผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาคาร คลังสินค้า โรงงาน ที่สูงเกิน 2 ชั้นหรือเกิน 8 ม. ต้องมีระยะร่นอาคารดังนี้

กฎหมายควบคุมอาคาร ระยะร่นอาคาร จากถนนสาธาณะ

ภาพแสดง ระยะร่นอาคาร จากถนนสาธาณะ

ระยะร่นอาคาร จากถนนสาธารณะ

  • ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างน้อยกว่า 10 ม. ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะ อย่างน้อย 6 ม.
  • ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างตั้งแต่ 10 ม. ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 ม. ให้ร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างของถนนสาธารณะ
  • ถ้าถนนสาธาณะนั้นมีความกว้างเกิน 20 ม.ขึ้นไป ให้ร่นแนวอาคารห่างจากถนนสาธารณะอย่างน้อย 2 ม.
กฎหมายควบคุมอาคาร ภาพแสดง ระยะร่น ที่ว่างถนน ตามประเภทอาคาร

ภาพแสดง ระยะร่น ที่ว่างถนน ตามประเภทอาคาร

ระยะร่นที่ว่าง ถนน ตามประเภทอาคาร

  • โรงงาน อาคารสาธารณะและอาคารอื่น ซึ่งไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ต้องมีที่ว่างไม่น้อยก่วา 10 ใน 100 ส่วนของพื้นที่ที่ดิน แต่ถ้าใช้เป็นที่อยู่อาศัยต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30 ใน 100 ส่วนของพื้นที่ที่ดิน
  • โรงงานอุตสาหกรรม คลังสินค้า อาคารสูงเกิน 2 ชั้นหรือสูงเกิน 8 ม. ยกเว้นอาคารอยู่อาศัยสูงไม่เกิน 3 ชั้น ที่ไม่อยู่ริมทางสารณะ ให้มีที่ว่างด้านหน้ากว้างไม่น้อยกว่า 6 ม. แต่ถ้าอาคารสูงเกิน 3 ชั้น ต้องมีที่ว่างกว้างไม่น้อยกว่า 12 ม.
กฎหมายควบคุมอาคาร ระยะร่นจากแนวเขตที่ดินผู้อื่น

ภาพแสดง ระยะร่นจากแนวเขตที่ดินผู้อื่น

ระยะร่นจากแนวเขตที่ดินผู้อื่น

  • คลังสินค้าหรืออาคารเก็บสินค้าที่มีพื้นที่ของอาคารทุกชั้นรวมกันตั้งแต่ 100 ตรม. แต่ไม่เกิน 500 ตรม. ต้องมีที่ว่างห่างเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารนั้น ไม่น้อยกว่า 6 ม. อย่างน้อย 2 ด้าน และยาวรวมกันไม่น้อยกว่าครั้งหนึ่งของเส้นรอบรูปอาคารส่วนด้านอื่นต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 3 ม. ถ้าที่ว่างห่างเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารน้อยกว่า 5 ม.ต้องสร้างผนังอาคารเป็นผนังกันไฟ
  • คลังสินค้าหรืออาคารเก็บสินค้าที่มีพื้นที่ของอาคารทุกชั้นรวมกันเกิน 500 ตรม. ต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารนั้นไม่น้อยกว่า 10 ม. อย่างน้อย 2 ด้าน และยาวรวมกันไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเส้นรอบรูปอาคาร ส่วนด้านอื่นต้องมีที่ว่างห่างจากแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 5 ม.
  • โรงงานที่มีพื้นที่ที่ใช้ประกอบกิจการของอาคารทุกชั้นรวมกันตั้งแต่ 100 ตรม. แต่ไม่เกิน 500 ตรม. ต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารนั้น ไม่น้อยกว่า 3 ม. จำนวน 2 ด้าน
  • โรงงานที่มีพื้นที่ที่ใช้ประกอบกิจการของอาคารทุกชั้นรวมกันตั้งแต่ 500 ตรม. แต่ไม่เกิน 1,000 ตรม. ต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารนั้น ไม่น้อยกว่า 6 ม. ทุกด้าน
    โรงงานที่มีพื้นที่ที่ใช้ประกอบกิจการของอาคารทุกชั้นรวมกันตั้งแต่ 1,000 ตรม. ต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารนั้นไม่น้อยกว่า 10 ม.ทุกด้าน

Key takeaway

ผู้ประกอบการ ที่ต้องการสร้างโรงงาน หรือ คลังสินค้า จำเป็นต้องพิจารณาข้อกำหนดทางกฎหมาย ซึ่งระบุไว้ใน พรบ. ควบคุมอาคาร ดังนี้

  • ต้องพิจารณากฎหมายผังเมืองรวม ในพื้นที่ที่จะก่อสร้าง ว่ากำหนดการใช้ประโยชน์ของที่ดินไว้อย่างไรบ้าง
  • พิจารณาข้อบัญญัติท้องถิ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ที่มีความประสงค์จะก่อสร้าง
  • คลังสินค้าที่มีพื้นที่ของอาคารทุกชั้นรวมกันเกิน 500 ตารางเมตร ต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารนั้นไม่น้อยกว่า 10 เมตร สองด้าน ส่วนด้านอื่นต้องมีที่ว่างห่าง
    พิจารณาตามกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง: www.terrabkk.com